วันจันทร์ที่ 16 กันยายน 2567
12 ม.ค. 2567 13:16 | 6376 view
@thanthai
1. กินยาดัก เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
พออากาศเปลี่ยน ตากฝน สิ่งที่พ่อแม่นิยมทำก็คือให้ลูกไปอาบน้ำให้เร็วที่สุด แล้วกินยาดักไข้เอาไว้ จะได้ไม่ป่วย ซึ่งเป็นความเชื่อยอดนิยมที่คิดว่ายาจะสามารถป้องกันไข้หวัดได้ โดยเฉพาะการกินยาพาราเซตามอลหรือยาลดไข้ชนิดอื่นๆ ในความจริงนั้น ยาเหล่านี้มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวด ลดไข้ แต่ไม่ได้มีสรรพคุณในการป้องกันอาการป่วย
ดังนั้น การกินยาดักไข้ตอนที่ยังไม่มีอาการจึงไม่สามารถช่วยป้องกันการเป็นไข้ได้ อีกทั้งยาทุกชนิดมีผลข้างเคียง และอาจเกิดอันตรายหากกินติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้ตับทำงานหนัก จนเซลล์ตับถูกทำลาย และมีโอกาสเกิดภาวะตับอักเสบได้ในที่สุด
2.เลือกยาให้เหมาะสมกับวัย
ตัวอย่างเช่น ยาแก้ไอ ไม่ควรนำยาแก้ไอของผู้ใหญ่มาให้เด็กกิน เพราะยาบางชนิดอาจจะผสมแอลกอฮอล์ หรือยาบางตัวอาจมีฤทธิ์กดศูนย์กลางการหายใจ อาจทำให้เด็กหยุดหายใจจนเสียชีวิตได้
หรือยาแก้ท้องเสีย ไม่ควรให้ยาที่มีความแรงมากในเด็กเล็ก เพราะอาจไปกดการหายใจได้ วิธีที่ดีที่สุดคือการให้น้ำและเกลือแร่ เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำ เพราะอาการขาดน้ำในเด็กอาจทำให้เสียชีวิตได้
3.กินยาเกินขนาด (overdose) จะได้หายเร็วๆ
การกินยาในปริมาณหรือขนาดที่มากกว่าแพทย์กำหนด ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุ ความเข้าใจผิด หรือคิดว่าจะทำให้หายจากโรคเร็วขึ้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เนื่องจากอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรศึกษาและทำความเข้าใจให้ถูกต้องในเรื่องของปริมาณและระยะเวลาของการกินยา ซึ่งยาที่พบบ่อยว่ากินเกินขนาด คือ ยาพาราเซตามอล โดยแนะนำว่าขนาดที่ถูกต้องในการกินยา 1 ครั้ง ใช้ยาขนาด 10-15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น น้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม ขนาดยาอยู่ที่ 600-900 มิลลิกรัม หรือขนาดยา 500 มิลลิกรัม 1.5 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง วันละไม่เกิน 5 ครั้ง
อีกทั้งยาพาราเซตามอลนั้นเป็นยารักษาตามอาการ หากไม่มีอาการปวดหรือไม่มีไข้ ก็ไม่จำเป็นต้องกินยา ดังนั้น การกินยาพาราเซตามอลมากเกินไปหรือกินพร่ำเพรื่อติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้ตับทำงานบกพร่อง เสี่ยงต่อภาวะตับอักเสบได้
4.เป็นหวัดเจ็บคอต้องกินยาปฎิชีวนะ
ภาวะเจ็บคอส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสหรือที่เรียกกันว่าเชื้อหวัด ส่วนอาการเจ็บคอจากการติดเชื้อแบคทีเรียนั้นจะต้องมีอาการบ่งชี้อื่นๆ เช่น มีไข้สูง มีฝีหนองที่ต่อมทอนซิล น้ำมูก/เสมหะสีเหลือง/เขียว
การติดเชื้อไวรัสหรือหวัดไม่มียาฆ่าเชื้อโดยตรง ใช้การรักษาตามอาการให้ร่างกายกำจัดเชื้อออกไปเอง ดังนั้น จึงมีความเข้าใจผิดว่าเมื่อมีอาการเจ็บคอควรซื้อยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะมากินจึงไม่ช่วยรักษาอาการเจ็บคอจากหวัดได้
ข้อห้ามใช้ของยาสำหรับทารกและเด็กเล็กบางชนิดที่ควรจดจำ
1. แอสไพริน (Aspirin) ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ เพราะอาจทำให้มีเลือดออกได้
2. คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ไม่ควรใช้ในทารกอายุต่ำกว่า 2 เดือน เพราะอาจทำให้ซึม นอนไม่หลับ หรือชักได้
3. คลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) ห้ามใช้ในทารกอายุต่ำกว่า 4 เดือน เพราะอาจทำให้เด็กตัวเขียว เนื้อตัวอ่อนปวกเปียก หรือหมดสติได้
4. โลเปอราไมด์ (Loperamide) ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เพราะอาจกดศูนย์การหายใจ
5. ซัลฟานาไมด์ (Sulfanamide) ห้ามใช้ในเด็กทารกอายุต่ำกว่า 2 เดือน เพราะอาจทำให้เกิด ดีซ่านและสมองพิการได้
6. เตตร้าซัยคลิน (Tetracyclin) ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 8 ขวบ เพราะอาจทำให้ฟันเหลืองดำอย่างถาวรและกระดูกเจริญเติบโตไม่ดี
7. เดกซ์โทรเมทอร์แฟน (Dextromethorphan) ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เพราะยาอาจกดศูนย์กลางการหายใจ
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/myths-medications
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/10-behaviors-for-unsafety-medication-usage
ข่าว
16 ก.ย. 2567 09:45 26 views
ข่าว
16 ก.ย. 2567 09:44 24 views
ข่าว
16 ก.ย. 2567 09:24 17 views
ข่าว
16 ก.ย. 2567 09:14 18 views
ข่าว
15 ก.ย. 2567 14:49 292 views
ข่าว
15 ก.ย. 2567 14:46 150 views
ข่าว
15 ก.ย. 2567 14:38 163 views
ข่าว
15 ก.ย. 2567 14:29 155 views
ข่าว
15 ก.ย. 2567 12:47 175 views
ข่าว
15 ก.ย. 2567 11:41 178 views
ข่าว
15 ก.ย. 2567 11:37 209 views
ข่าว
15 ก.ย. 2567 11:30 273 views
ข่าว
15 ก.ย. 2567 11:13 294 views
ข่าว
15 ก.ย. 2567 11:13 195 views
ข่าว
15 ก.ย. 2567 11:13 138 views
ข่าว
15 ก.ย. 2567 11:01 145 views