วันพุธที่ 18 กันยายน 2567
4 ธ.ค. 2566 16:06 | 512 view
@pracha
ไร้พื้นที่ให้นักวิชาการ! "ปธ.กมธ.พัฒนาการเมืองฯ"รับหลายฝ่ายกังวลหาก"ส.ส.ร."มาจากเลือกตั้งทั้งหมด จัดระบบกาง 3 กลุ่ม"เลือกตั้งโดยตรง-ผู้เชี่ยวชาญ-กลุ่มความหลากหลาย" มั่นใจแก้ปัญหาได้ เตรียมสรุปส่ง"สภาฯ-รัฐบาล" ลั่นถ้าถอดหมวกประธานฯออก อยากให้ใส่"คำถามพ่วง" เชื่อรณรงค์ดี ประชาชนไม่สับสน
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2566 ที่รัฐสภา นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมาธิการ พิจารณาศึกษาการจัดทำข้อเสนอระบบการเลือกตั้ง และแนวทางการทำงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่มาจากการเลือกตั้ง ร่วมกับนักวิชาการที่ได้เชิญเข้ามาแลกเปลี่ยนต่อข้อเสนอทางเลือกระบบเลือกตั้ง ส.ส.ร. ว่า คณะอนุกรรมการฯ นี้มีวัตถุประสงค์หลักในการจัดทำข้อเสนอที่ว่า หาก ส.ส.ร. จะมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เราสามารถมีโมเดลหรือระบบเลือกตั้งอย่างไรได้บ้าง โดยเฉพาะโมเดลหรือระบบเลือกตั้งที่สามารถคลายข้อกังวลของกลุ่มบุคคลที่อาจจะยังไม่เห็นด้วยกับการที่ ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ถ้าย้อนไปฟังทั้งในการอภิปรายในสภาฯ หรือความเห็นในสังคม
สำหรับกลุ่มคนที่อาจจะยังเห็นต่าง หรือมองว่า ส.ส.ร.ไม่ควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด อาจมีข้อกังวล 2 ส่วน คือ 1.ความกังวลว่า หาก ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดแล้ว ส.ส.ร. หรือกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะมีพื้นที่ให้กับผู้เชี่ยวชาญทางรัฐศาสตร์ เข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างไร 2.ข้อกังวลว่าหาก ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เราจะรับประกันความหลากหลายทางกลุ่มสังคมในพื้นที่ ส.ส.ร.ได้อย่างไร
นายพริษฐ์ กล่าวต่อว่า ดังนั้น สิ่งที่คณะอนุกรรมการฯ ทำในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา คือการพยายามออกแบบระบบเลือกตั้ง เพื่อคลายสองข้อกังวลนี้ เพราะเรามีความเชื่อว่า การที่ ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด จะทำให้มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย และยังคงเปิดพื้นที่ให้กับผู้เชี่ยวชาญ และกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางสังคมได้เช่นกัน
นายพริษฐ์ กล่าวอีกว่า วันนี้เป็นโอกาสที่เรานำเอาข้อเสนอหรือรายงานเบื้องต้นมารับฟังความเห็นจากหลายภาคส่วน ซึ่งผู้ที่เข้ามาร่วมให้ความเห็นในวันนี้มีตั้งแต่นักวิชาการ กลุ่มคนที่อยู่ในกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2539-2540 ตัวแทนจากคณะกรรมการศึกษาฯ จากรัฐบาล ตัวแทนกลุ่มภาคประชาชนที่ขับเคลื่อนเรื่องรัฐธรรมนูญ คิดว่าเป็นความเห็นที่เป็นประโยชน์ ทำให้เราสามารถมีมุมมองที่ครบถ้วนและรอบด้านมากขึ้น
หากสรุปความเห็นเบื้องต้น เราอาจจะจินตนาการว่า หาก ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด อาจมี 3 ประเภท (x, y, z,) คือ
1.ประเภท X ส.ส.ร.ที่เป็นตัวแทนพื้นที่ ซึ่งมีข้อถกเถียงหลักคือ ควรจะใช้ประเทศ กลุ่มจังหวัด หรือจังหวัด เป็นเขตเลือกตั้ง ซึ่งหากได้ข้อสรุปไปในทางใดทางหนึ่งแล้ว ระบบเลือกตั้งที่ใช้จะเป็นเช่นไร อาจจะกาผู้สมัครคนเดียว หรือจะมีระบบเลือกตั้งแบบใหม่ ที่มีการเรียงลำดับผู้สมัคร
2.ประเภท Y เป็นการพยายามคิดว่า หากเราประสงค์ จะให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ หรือมีประสบการณ์เข้าไปอยู่ใน ส.ส.ร. จะทำอย่างไรให้เราสามารถมีพื้นที่ให้กับคนเหล่านั้นได้ โดยยังคงหลักการ ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ซึ่งมีอยู่ 2 ทางเลือกใหญ่
2.1ดึงผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีประสบการณ์ ไปอยู่ใน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ หรือคือการที่นำเอา ส.ส.ร.ประเภท X เข้ามา และ ส.ส.ร.ประเภท X นี้ ก็อาจจะมีการตั้ง กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา ซึ่งในกมธ.นี้ ก็อาจจะมีทั้ง ส.ส.ร.ประเภท X ควบคู่กับผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เข้ามาทำงานร่วมกัน
2.2 หากเราต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีประสบการณ์ เข้ามาอยู่ใน ส.ส.ร. ไม่ได้อยู่แค่ใน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ อย่างเดียว อาจจะต้องออกแบบระบบการเลือกตั้ง เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ ผ่านกระบวนการรับรองโดยประชาชน ซึ่งมีอีก 2 ทางเลือกย่อย
2.2.1 การเลือกตั้งโดยตรง แต่เป็นแบบบัญชีที่แยกออกมา ให้ประชาชนมีบัตรเลือกตั้งสองใบ ใบแรกคือการเลือกตัวแทน ประเภท X ใบที่สองคือการเลือกตัวแทนประเภทผู้เชี่ยวชาญ หรือ ส.ส.ร.ประเภท Y เพื่อเปิดพื้นที่ให้ผู้เชี่ยวชาญสมัครเข้ามา และให้ประชาชนเป็นคนไปเลือก
2.2.2 การเลือก ส.ส.ร.ประเภท X แล้วให้เขามาเลือกตัวแทน ส.ส.ร.ประเภท Y อีกทีหนึ่ง คู่ขนานกันไป ทำให้ใครก็ตามที่ลงสมัครรับเลือกตั้งต้องรณรงค์หาเสียง และเสนอแนวคิดว่าจะนำใครเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
3.ประเภท Z คือความพยายามจะทำให้ได้ ส.ส.ร.ที่มีความหลากหลายทางกลุ่มสังคม ซึ่งเป็นอีกแนวคิดหนึ่งว่า เราควรจะมีบัตรเลือกตั้งอีกหนึ่งใบหรือไม่ หรือกระบวนการเลือก ส.ส.ร.ประเภท X เลือกผู้ที่มีความหลากหลายทางกลุ่มสังคมเข้ามามีตัวแทนที่อยู่ใน ส.ส.ร.มากขึ้น
“ทั้งหมดนี้อยู่บนเงื่อนไขที่ว่า ทุกคนมาจากการเลือกตั้งทางตรงของประชาชน หรืออย่างน้อยถูกเลือกโดย ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และมีความยึดโยงกับประชาชน โดยขณะนี้ เมื่อได้นับฟังความเห็นเบื้องต้นแล้ว เราจะมีการนำความเห็นทั้งหมดมาประมวลเพิ่มเติม คาดว่าในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้ารายงานจะครบถ้วน และเราจะนำรายงานฉบับนี้ ไปเสนอตามกลไกสภาฯ รวมถึงยื่นให้คณะกรรมการศึกษาฯ ของรัฐบาลรับไปพิจารณาต่อด้วย ด้วยความหวังว่า เมื่อเห็นถึงทางเลือกที่เป็นไปได้แบบนี้แล้ว จะทำให้คลายข้อกังวลของทุกฝ่าย และทำให้ทุกฝ่ายเห็นตรงกันได้ว่า ส.ส.ร.ควรจะมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด” นายพริษฐ์ กล่าว
เมื่อถามว่า ประเมินว่าข้อเสนอของ กมธ.ฯ ทางรัฐบาลจะเห็นด้วยมากน้อยเพียงใด นายพริษฐ์ กล่าวว่า ต้องรอดูว่าหลังจากที่เรายื่นไปแล้วจะมีท่าทีอย่างไร ตนหวังว่าสิ่งที่เราพยายามจะช่วยคลายข้อกังวลจากสมาชิกรัฐบาลที่ได้อภิปรายในสภาฯ แต่ถ้าตนถอดหมวกประธานกมธ.ฯออก แล้วสวมหมวก สส.ก้าวไกล สิ่งที่เราเสนอไปคือ 1 คำถามหลัก + 2 คำถามพ่วง ในการตั้งคำถามเพื่อทำประชามติ เพื่อไม่ว่าประชาชนจะเห็นไปในทิศทางใด สมาชิกรัฐสภาทุกส่วนจะยึดผลประชามติ ในการผลักดันร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อในรัฐสภา
เมื่อถามว่า การมีคำถามพ่วงจะไม่ทำให้ประชาชนสับสนใช่หรือไม่ นายพริษฐ์ กล่าวว่า เป็นอีกหนึ่งข้อกังวลที่เราพยายามศึกษาอยู่ แต่ถ้าเราสร้างบรรยากาศรณรงค์ในช่วงการทำประชามติ ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างกว้างขวางที่สุด ทำให้ฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในประเด็นต่างๆ สามารถรณรงค์ได้อย่างเสรี อย่างเป็นธรรมบนกติกาที่ทัดเทียมกัน ตนคิดว่าประชาชนคงได้ข้อมูลครบถ้วนก่อนเข้าคูหาในการเลือกคำตอบสำหรับ 1 คำถามหลัก และ 2 คำถามพ่วง
//////////////////
ข่าว
18 ก.ย. 2567 15:02 43 views
ข่าว
18 ก.ย. 2567 14:55 52 views
ข่าว
18 ก.ย. 2567 14:49 45 views
ข่าว
18 ก.ย. 2567 14:02 106 views
ข่าว
18 ก.ย. 2567 14:01 91 views
ข่าว
18 ก.ย. 2567 12:58 110 views
ข่าว
18 ก.ย. 2567 12:22 69 views
ข่าว
18 ก.ย. 2567 12:20 77 views
ข่าว
18 ก.ย. 2567 12:16 65 views
ข่าว
18 ก.ย. 2567 10:40 79 views
ข่าว
18 ก.ย. 2567 10:37 81 views
ข่าว
18 ก.ย. 2567 10:32 136 views
ข่าว
18 ก.ย. 2567 09:24 131 views
ข่าว
18 ก.ย. 2567 09:22 148 views
ข่าว
18 ก.ย. 2567 09:21 129 views
ข่าว
18 ก.ย. 2567 09:18 109 views