วันจันทร์ที่ 16 กันยายน 2567
4 ส.ค. 2566 20:23 | 5308 view
@admin
แค่หูแว่วไม่น่ามีอะไรหรอก !! ใครเคยเป็นแบบนี้ แล้วชะล่าใจว่าไม่มีอะไรบ้าง ? เพราะว่าไม่ใช่บาดแผลหรืออาการเจ็บป่วยร้ายแรง หลายคนก็เลยคิดว่าเป็นแค่เสียงหูแว่วธรรมดา เดี๋ยวก็หายเอง แต่หูเป็นอวัยวะสำคัญที่เอาไว้ฟังเสียงต่าง ๆ ในชีวิต ยิ่งไม่ควรละเลย เพราะอาจจะทำให้ร้ายแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นเมื่อมีเสียงรบกวนในหูจนผิดสังเกต การพบแพทย์โดยเร็วที่สุดจะช่วยให้ทำการรักษาได้ทันท่วงทีและลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับหูได้ อาการหูแว่วมีลักษณะอย่างไร? อาการหูแว่วเป็นรูปแบบหนึ่งของอาการหลอน (Hallucination) หรือการรับรู้ถึงสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง และอาจเกิดร่วมกับการเห็นภาพหลอน (Visual Hallucination) ซึ่งเสียงที่ไม่มีอยู่จริงเหล่านี้อาจมีลักษณะอื่น ๆ ที่แตกต่างกันในผู้ที่ได้ยินแต่ละคน เช่น เสียงผู้หญิง เสียงผู้ชาย เสียงเด็ก เสียงคนรู้จัก เสียงคนพูดภาษาที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน โดยอาจมาในรูปแบบของการกระซิบ ตะโกน เสียงพูดทั่วไป เป็นคำ เป็นประโยค เป็นเสียงที่ไม่มีความหมาย เสียงที่ไม่มีจริงเหล่านี้เกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ แม้คนบางส่วนจะเข้าใจว่าการได้ยินเสียงจะต้องผ่านหูเท่านั้น แต่ความเป็นจริงการที่จะได้ยินเสียง แยกแยะเสียง และตีความหมายของเสียงนั้นจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับอวัยวะหลายส่วน ทั้งหู เส้นประสาท สมอง และระบบประสาท ดังนั้นเมื่อระบบของอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งเสียหายหรือผิดปกติก็อาจทำให้เกิดอาการหูแว่วได้ เสียงในหูสัญญาณเตือนของร่างกาย ไม่ใช่แค่ผีทัก อาการหูแว่วเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่าง ๆ ได้หลากหลาย ไม่ใช่แค่ความเชื่อเรื่องสิ่งลี้ลับ ซึ่งอาการหูแว่วเป็นสัญญาณเตือนของโรคดังนี้ การเจ็บป่วยทางจิตใจ อาการหูแว่วเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีอาการป่วยทางจิตใจ เช่น ภาวะอารมณ์ผิดปกติ หรืออาการทางจิตใจที่เกิดจากความบอบช้ำหรือเรื่องราวเลวร้ายในอดีต ได้แก่ -โรคจิตเภท (Schizophrenia) -โรคจิตทางอารมณ์ (Schizoaffective Disorder) -ภาวะซึมเศร้า -โรคอารมณ์สองขั้วหรือโรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) -ภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder) -โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง (PTSD) โรคสมองและระบบประสาท แค่หูแว่วหลายคนอาจไม่คาดคิดว่าเป็นสัญญาณเตือนของโรคสมองและระบบประสาทด้วย เพราะสมองและระบบประสาทเป็นหน่วยประมวลผลการรับรู้ของร่างกาย ซึ่งทำหน้าที่ประมวลเสียงที่เกิดขึ้น และแน่นอนว่าหากอวัยวะหรือระบบเหล่านี้ผิดปกติก็อาจทำให้การรับรู้และการประมวลผลผิดเพี้ยนจนทำให้เกิดอาการหูแว่วได้ ตัวอย่างเช่น -โรคลมชัก -เนื้องอกในสมอง -โรคพาร์กินสัน -โรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมประเภทอื่น ๆ หากพบอาการหูแว่วติดต่อกันนาน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อม ควรไปพบแพทย์ นอกจากปัญหาสุขภาพปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมต่อไปนี้ก็อาจทำให้เกิดอาการหูแว่วได้เช่นกัน 1.การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการใช้สารเสพติดที่ส่งผลต่อการทำงานของระบบการรับรู้และระบบประสาท 2.ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด มักพบในช่วงแรกของการใช้ยา และพบบ่อยในผู้สูงอายุ 3.อารมณ์ทางลบที่รุนแรง เช่น ความเครียด ความกังวล และความโกรธ เป็นต้น 4.ความเหนื่อยล้า โดยจากการศึกษาชิ้นหนึ่งในผู้ป่วยโรคสมองพบว่า ความเหนื่อยล้าอาจทำให้เกิดอาการหูแว่วและภาพหลอนได้ ไม่ว่าจะเป็นความเหนื่อยล้าทั้งทางร่างกายหรือจิตใจ 5.พันธุกรรม ในครอบครัวที่สมาชิกมีการเจ็บป่วยทางจิตใจ อย่างภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล หรือโรคไบโพลาร์ ดังนั้นหากมีอาการหูแว่ว หรือมีเสียงในหูอย่านิ่งนอนใจ รวมถึงการมีความผิดปกติกับร่างกายในด้านอื่น ๆ ด้วย เพราะถ้าสังเกตตัวเองเร็วอาการอาจไม่รุนแรง แต่ถ้าปล่อยไว้บางอาการอาจสายเกินแก้ก็ได้ ขอบคุณข้อมูลจาก https:www.bpk9internationalhospital.com https:www.pobpad.com https:eartone.co.th
ข่าว
16 ก.ย. 2567 09:45 32 views
ข่าว
16 ก.ย. 2567 09:44 28 views
ข่าว
16 ก.ย. 2567 09:24 31 views
ข่าว
16 ก.ย. 2567 09:14 42 views
ข่าว
15 ก.ย. 2567 14:49 296 views
ข่าว
15 ก.ย. 2567 14:46 153 views
ข่าว
15 ก.ย. 2567 14:38 165 views
ข่าว
15 ก.ย. 2567 14:29 157 views
ข่าว
15 ก.ย. 2567 12:47 177 views
ข่าว
15 ก.ย. 2567 11:41 180 views
ข่าว
15 ก.ย. 2567 11:37 210 views
ข่าว
15 ก.ย. 2567 11:30 274 views
ข่าว
15 ก.ย. 2567 11:13 295 views
ข่าว
15 ก.ย. 2567 11:13 196 views
ข่าว
15 ก.ย. 2567 11:13 140 views
ข่าว
15 ก.ย. 2567 11:01 145 views