×
Live หน้าหลัก ทันเหตุการณ์ ทั่วไป คุณภาพชีวิต อาชญากรรม เศรษฐกิจ ต่างประเทศ กีฬา สิ่งแวดล้อม ทหาร การเมือง ภูมิภาค บทความ บันเทิง Life แฟชั่นและความงาม อาหารและสุขภาพ ไอที ท่องเที่ยวและวัฒนธรรม การเงินและการลงทุน โชคชะตาและความเชื่อ กิจกรรม ททบ. กิจกรรม ทบ. แนะนำรายการ หน่วยงานและเอกชน พอดแคสด์ ศูนย์ข่าววิทยุ ติดต่อเรา

วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม 2568

?>

เด็กไทยอ้วนพุ่ง ติดอันดับ 1 ใน 3 ของอาเซียน

 20 ม.ค. 2568 11:30 | 4847 view

 @supakitt

Facebook X Share

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา ร่วมกับแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) เครือข่ายคนไทยไร้พุง เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานและเครือข่ายเด็กไทยแก้มใส จัดงาน มหกรรมรู้เท่าทันสื่อ รู้เท่าทันสุขภาพ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวาน มัน เค็มเพิ่มผัก และผลไม้)” เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2568 ที่ผ่านมา ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

นางญาณี รัชต์บริรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. กล่าวว่า ไทยมีเด็กที่เป็นโรคอ้วนสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศในกลุ่มอาเซียน รองจากประเทศมาเลเซีย และบรูไน จากข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนในเด็ก (Health Data Center) ปี 2566 โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบเด็กอายุ 0-5 ปี มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน 9.13% เด็กวัยเรียนอายุ 6-14 ปี มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน 13.4% เด็กวัยรุ่นอายุ 15-18 ปี มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน 13.2%

สาเหตุจากพฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพ เช่น การบริโภคอาหารที่เน้นหวาน มัน เค็ม และขาดการออกกิจกรรมทางกาย นำไปสู่การเสี่ยงป่วยโรคไม่ติดต่อ หรือ NCDs สอดคล้องกับสถานการณ์การบริโภคอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของประชากรไทย ปี 2567 โดย สสส. และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบเด็กวัยเรียนอายุ 6-14 ปี กินขนมรสเค็มมากที่สุด 84.1% กินเฉลี่ย 1.35 ซองต่อวัน รองลงมาเป็นกลุ่มเด็กเล็ก อายุ 1-5 ปี กินขนมรสเค็ม 76.5% กินเฉลี่ย 1.23 ซองต่อวัน

จากการคาดการณ์ของสหพันธ์โรคอ้วนโลก (World Obesity Federation) ในปี 2573 จะมีเด็กอ้วนทั่วโลกเพิ่มสูงถึง 50% ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าว สสส. จึงสานพลังภาคี ขับเคลื่อนโครงการสื่อสร้างสรรค์ฯ ภายใต้หัวข้อ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก และผลไม้)” เพื่อสร้างค่านิยมเปลี่ยนพฤติกรรมเรื่องโภชนาการ ผ่านกระบวนการออกแบบสื่อสร้างสรรค์และนวัตกรรมต้นแบบลดอ้วนในเด็ก เน้นสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา ครู ชุมชน ครอบครัว และนักเรียนแกนนำ

ส่งเสริมการนำบริบทชุมชนมาออกแบบสร้างอัตลักษณ์และสอดแทรกองค์ความรู้ด้านสุขภาพเข้าไปในกระบวนการ ตอบโจทย์เป้าหมายในเรื่องของการมีสุขภาวะดีทั้ง 4 มิติ ทั้งนี้ สำหรับผลงานสื่อสร้างสรรค์และนวัตกรรมต้นแบบที่ได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และรางวัลพิเศษ WOW Awards จะถูกนำไปใช้ขยายผลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทั่วประเทศ เพื่อสื่อสารรณรงค์ให้เด็กไทยมีสุขภาพดีต่อไป

ดร.ดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. กล่าวว่า โครงการสื่อสร้างสรรค์ฯ ภายใต้หัวข้อ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” ขับเคลื่อนเข้าสู่ปีที่ 5 ที่ผ่านมามีการนำกระบวนการทำงานสร้างนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์เข้าไปบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มของสถานศึกษา ซึ่งสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรม แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1.นวัตกรรมกระบวนการการทำงานอย่างมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้นักเรียน ครู ผู้บริหารได้สื่อสารนวัตกรรมสื่อรณรงค์ให้เพื่อนๆ ที่อยู่ในระดับเดียวกัน

2.นวัตกรรมของสื่อ ต้องเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ เช่น ท่าออกกำลังกายนวัตกรรมเมนูอาหารสุขภาพที่ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักและผลไม้ 3.นวัตกรรมการยกระดับและการขยายผล โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการออกแบบโภชนาการและกิจกรรมที่เหมาะสม ทำให้เด็กไม่เนือยนิ่ง และไม่บริโภคอาหารที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ ส่งผลให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรง มีสติปัญญา พร้อมเป็นกำลังสำคัญให้กับประเทศชาติในอนาคต ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่สนใจรับชมผลงานที่ได้รับรางวัลทั้งหมด สามารถติดตามได้ที่ www.artculture4health.com

ดร.สง่า ดามาพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย และผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. กล่าวว่า การดำเนินโครงการในระยะเวลา 3-5 ปี ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่านวัตกรรมที่จับต้องได้ คือ 1.สื่อสร้างสรรค์ที่โดนใจเด็ก ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ไม่เคยเกิดขึ้นในไทยมาก่อน เด็กสามารถนำความรู้ไปใช้เป็นแนวทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง และลดความอ้วนได้

2.กระบวนการโน้มน้าวปรับพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกายของเด็ก โดยให้เด็กได้สร้างสรรค์และใช้สื่อนั้นด้วยตัวเอง นำไปใช้กับเพื่อน และพ่อแม่ เกิดเป็นความเชื่อมโยงระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชน ตอบโจทย์ขับเคลื่อนงานแบบบูรณาการและการสร้างการมีส่วนร่วมของสังคม ช่วยให้เด็กไทยเติบโตมีสุขภาพดีสมวัย

เป็นเพื่อนกับบัญชีทางการ LINE ของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุดและอีกมากมาย!

เพิ่มเพื่อน

ทันเหตุการณ์

ข่าว

MOBYE ปล่อยซิงเกิลใหม่ ‘5 A.M.’ เพลงรักสุดละมุนที่ทำให้การตื่นเช้ามีความหมาย

14 ก.ค. 2568 16:30 120 views

ข่าว

UTO FEST ปังมากแม่! 2NE1 ควง SUHO (EXO)-KEY (SHINee) เขย่ากรุงเทพฯ

14 ก.ค. 2568 16:11 115 views

ข่าว

 "คิม แจจุง" ระเบิดความมันส์ใน "Beauty in Chaos" จัดเต็มแสงสีเสียงสุดอลังการ

14 ก.ค. 2568 16:06 114 views

ข่าว

4 ก.ย. เซ็นทรัลเผยโฉม "Central Park" แลนด์มาร์กระดับโลก

14 ก.ค. 2568 16:03 122 views

ข่าว

‘พิชัย’ ยันเซ็นเสนอชื่อผู้ว่าแบงก์ชาติคนใหม่เรียบร้อยแล้ว พร้อมชง ครม. พิจารณาพรุ่งนี้

14 ก.ค. 2568 15:50 127 views

ข่าว

“อนุทิน” ลั่นเขากระโดงทำทุกอย่างตามกม. ซัดใช้อำนาจไม่เป็นธรรมจะย้อนกลับทำลายตัวเอง

14 ก.ค. 2568 15:44 125 views

ข่าว

ด่วน ป.ป.ช. มีมติเอกฉันท์ ตั้งองค์คณะไต่สวน “อิ๊งค์” ปมคลิปเสียงเจรจา ”ฮุนเซน” ฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง

14 ก.ค. 2568 15:41 117 views

ข่าว

1 เดือนคุมเข้มกัญชา รมว.สธ.เผยเพิกถอน-พักใช้ใบอนุญาตเพียบ!

14 ก.ค. 2568 15:04 142 views

ข่าว

หัวหน้าทีมไทยแลนด์ ระบุยังไม่สามารถคาดเดาผลการเจรจากับสหรัฐจะจบลงอย่างไร

14 ก.ค. 2568 14:58 135 views

ข่าว

“ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” นับถอยหลัง 80 วัน ปรับขึ้นค่าขยะ จาก 20 เป็น 60 บาทต่อเดือน เริ่มตุลาคมนี้

14 ก.ค. 2568 14:51 149 views

ข่าว

พิชัยเผยไทยเตรียมส่งข้อเสนอเจรจาภาษี 0% เพิ่มสินค้าบางรายการ

14 ก.ค. 2568 14:46 161 views

ข่าว

'จตุพร' ถกภาครัฐ-เอกชนติดตามสถานการณ์ชายแดนไทย–กัมพูชา

14 ก.ค. 2568 14:44 147 views

ข่าว

สุชาติยืนยันเร่งออกกฎหมายคุ้มครองพุทธศาสนา คาด 3-4 เดือนชัดเจน

14 ก.ค. 2568 14:35 155 views

ข่าว

พิชัย แย้ม 3 แนวทาง เจรจาภาษีสหรัฐ- จ่อจัดซอฟต์โลน 2 แสนล้านอุ้มธุรกิจไทย

14 ก.ค. 2568 14:10 118 views

ข่าว

ทบ. เร่งฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัยในภาคเหนือ พร้อมจัดกำลังทหารช่างเข้าปรับพื้นที่ ป้องกันน้ำหลากในระยะยาว

14 ก.ค. 2568 13:53 127 views

ข่าว

ฝนถล่มเวียงแก่น เชียงราย ดินสไลด์กลางดึก หินต้นไม้ขวางถนนสายหลักขึ้นภูชี้ฟ้า รถยนต์ยังผ่านไม่ได้

14 ก.ค. 2568 13:48 135 views