วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม 2568
9 ก.พ. 2568 10:27 | 720 view
@supakitt
ผลสำรวจ “สวนดุสิตโพล” เผย ควันหลงเลือกตั้งท้องถิ่น คนไทยต้องการผู้นำใกล้ชิด แต่กังวลประชาสัมพันธ์ กกต. – อัตราผู้ใช้สิทธิลดลง เหตุเลือกตั้งวันเสาร์-ติดภารกิจ
วันที่ 9 ก.พ.68 – “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นทั่วประเทศ ในหัวข้อ “ควันหลงเลือกตั้งท้องถิ่น” จากกลุ่มตัวอย่าง 1,386 คน สำรวจระหว่างวันที่ 4-7 กุมภาพันธ์ 2568 พบว่าร้อยละ 63.28 ไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ขณะที่อีกร้อยละ 36.72 ไม่ได้ไปใช้สิทธิ เนื่องจากติดภารกิจต้องทำงาน
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้จำนวนผู้มาใช้สิทธิน้อยกว่าที่คาดการณ์ ได้แก่ ความไม่สะดวกในการเดินทางและติดธุระ ร้อยละ 68.99 รองลงมาคือ การเลือกตั้งตรงกับวันเสาร์ ร้อยละ 47.18 สะท้อนให้เห็นว่าปัจจัยด้านเวลามีผลต่อการตัดสินใจของประชาชน
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่าประชาชนมองว่า การเลือกตั้งท้องถิ่นแตกต่างจากการเลือกตั้งระดับชาติ ร้อยละ 52.89 เพราะผู้สมัครท้องถิ่นเป็นบุคคลในพื้นที่ มีความเข้าใจปัญหาชุมชนและใกล้ชิดประชาชนมากกว่า ขณะเดียวกัน ร้อยละ 54.91 มองว่าการเลือกตั้งครั้งนี้แสดงให้เห็นแนวคิดใหม่ของประชาชนในการเลือกผู้นำท้องถิ่น โดยให้ความสำคัญกับความสามารถในการบริหารงานระดับพื้นที่ มากกว่านโยบายกว้างๆ
นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ควันหลงการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้สะท้อนถึง ความซับซ้อนของอำนาจในแต่ละพื้นที่ และชี้ให้เห็นว่า ประชาชนต้องการผู้นำที่ใกล้ชิด เข้าใจพื้นที่ มากกว่าผู้นำที่มีนโยบายกว้างๆ อย่างไรก็ตาม อัตราผู้มาใช้สิทธิที่ลดลง ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของ กกต. ว่ามีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่
ขณะที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัญชลี รัตนะ อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิเคราะห์ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้อาจสะท้อนความล้มเหลวของ กกต. ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง เนื่องจากอัตราผู้ใช้สิทธิลดลงจาก 62.86% ในปี 2563 เหลือเพียง 58% ในปี 2568 โดยปัจจัยหลักมาจาก ความไม่สะดวกของประชาชนและการเลือกตั้งที่จัดขึ้นในวันเสาร์ นอกจากนี้ ยังมีกรณีของบัตรเสียกว่า 900,000 ใบ ซึ่งสะท้อนปัญหาการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ของ กกต. มากกว่าการให้ความสำคัญกับความเข้าใจของประชาชน
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ เสียงไม่ประสงค์ลงคะแนน ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของความไม่เชื่อมั่นในตัวผู้สมัคร แม้ว่าบางคนจะมีนโยบายที่ดีหรือสังกัดพรรคใหญ่ แต่ประชาชนยังไม่มั่นใจเพียงพอที่จะเลือก
สำหรับผลลัพธ์ของการเลือกตั้งครั้งนี้ ร้อยละ 26.98 มองว่ายังต้องรอดูผลในระยะยาว ว่าจะส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่ระดับจังหวัดอย่างไร
ข่าว
10 ก.ค. 2568 16:14 18 views
ข่าว
10 ก.ค. 2568 15:59 29 views
ข่าว
10 ก.ค. 2568 15:56 22 views
ข่าว
10 ก.ค. 2568 15:52 30 views
ข่าว
10 ก.ค. 2568 15:46 30 views
ข่าว
10 ก.ค. 2568 15:04 79 views
ข่าว
10 ก.ค. 2568 14:41 59 views
ข่าว
10 ก.ค. 2568 14:36 46 views
ข่าว
10 ก.ค. 2568 14:32 32 views
ข่าว
10 ก.ค. 2568 11:11 101 views
ข่าว
10 ก.ค. 2568 10:56 68 views
ข่าว
10 ก.ค. 2568 10:52 80 views
ข่าว
10 ก.ค. 2568 10:49 68 views
ข่าว
10 ก.ค. 2568 10:47 70 views
ข่าว
10 ก.ค. 2568 10:43 73 views
ข่าว
10 ก.ค. 2568 10:38 81 views