วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม 2568
25 มี.ค. 2568 09:26 | 786 view
@pracha
ธีระชัย 'อดีตรมว.คลัง' ฟันธง! ตั๋ว PN เป็นนิติกรรมอำพราง ความผิดสำเร็จไปแล้ว
วันที่ 25 มีนาคม 2568 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความว่า ตั๋วสัญญาจะไม่ใช้เงิน?
เฟสบุค กรณ์ จาติกวณิช วิจารณ์เรื่องตั๋วสัญญาใช้เงินของ นรม ว่า ผู้อภิปรายคุณวิโรจน์เองยังใช้คำว่า ‘ใช้ช่องว่างทางกฎหมาย’ แสดงว่าผู้อภิปรายก็ไม่ได้ฟันธงว่าผิดแบบขาวแบบดำ และอธิบายว่า ถึงแม้ตั๋ว PN ไม่มีการระบุว่าต้องชำระหนี้เมื่อใดแถมไม่มีดอกเบี้ยด้วย เหมือนกับเป็นหนี้เทียม
ในทางธุรกิจผิดปกติแน่นอน แต่ก็อาจจะอธิบายได้ว่าเป็นธุรกรรมภายในครอบครัว คือ ลูกสาวขอติดเงินไว้ก่อน ก็ไม่ผิดปกติที่จะบอกเขาว่า ‘ไม่เป็นไร มีเมื่อไรค่อยเอามาใช้‘ ส่วนการไม่คิดดอกเบี้ยกับลูกก็เข้าใจได้ (ส่วนกรณีนี้สมเหตุสมผลหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง)
ผมตั้งข้อสังเกตดังนี้
1 หลักกฎหมายถือ substance over form หมายความว่า ยึดเอาผลทางเศรษฐกิจเป็นหลัก มากกว่ารูปแบบกฎหมาย
ดังนั้น ถึงแม้กรณีนี้ จะใช้รูปแบบตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่ถ้าเอาสามัญสำนึกของวิญญูชนมาจับ กรณีเจตนาเป็นตั๋วสัญญาที่ไม่คิดจะใช้เงิน ก็ต้องถือเป็นนิติกรรมอำพราง ต้องเริ่มต้นก่อนว่า ทรัพย์สินเดิมอาจจะซุกไว้ในที่มืด เมื่อจะเอาออกมาที่สว่าง ถ้าการโยกย้ายเกิดมีภาระภาษี ก็ควรจะต้องเสียเต็มกติกา กรณีถ้าหากจะหนีภาษี วิธีง่ายสุดก็คือ เปลี่ยนจากการให้ ที่ต้องเสียภาษี ไปเป็นการขาย ที่ไม่ต้องเสียภาษี โดยทำเอกสารลวง ไม่ต้องกำหนดวันชำระเงิน ไม่ต้องกำหนดดอกเบี้ย คือเป็นตั๋วสัญญาจะไม่ใช้เงินนั่นเอง
2 ถ้าผู้รับยังไม่มีเงินจะจ่ายค่าหุ้น ก็ต้องรอไว้จนกว่าจะมีเงิน กฎหมายกำหนดว่า การรับและการให้ ผู้รับต้องเสียภาษี ดังนั้น ถ้าหากเป็นการยกให้ ก็ต้องไม่ลวงว่าเป็นการขาย ถ้าสมมุติอยากให้ผู้รับหุ้น ต้องจ่ายเงินค่าหุ้นจริง ก็จะต้องรอไว้ก่อน จนกว่าผู้รับจะมีรายได้มากพอที่จะจ่ายค่าหุ้น ไม่ใช่ไปทำนิติกรรมอำพราง นอกจากนี้ ผู้ให้หุ้นส่วนใหญ่ ก็ไม่ใช่พ่อแม่ แต่เป็นพี่สาว 2,388 ลบ, พี่ชาย 335 ลบ, ลุง 1,315 ลบ, ป้าสะไภ้ 258 ลบ มารดาเป็นผู้ให้หุ้นเพียง 136 ลบ ไม่มีเหตุผลที่วิญญูชนจะเชื่อว่า พี่สาว/พี่ชาย/ลุง/ป้าสะไภ้ จะต้องรีบร้อนขายหุ้น ทั้งที่ผู้รับยังไม่พร้อมจะจ่ายเงิน
3 อาจมีภาระภาษีก่อนหน้า พี่สาว/พี่ชาย/ลุง/ป้าสะไภ้ ที่อ้างว่า ไม่ได้ให้หุ้น แต่อ้างว่าเป็นการขายหุ้น จะต้องพิสูจน์ว่าราคาขายสมเหตุสมผลหรือไม่ และกรมสรรพากรอาจจะตีมูลค่าแท้จริงสูงกว่าราคาพาร์ก็ได้อีกทั้งกรมสรรพากรอาจสมควรมีการตรวจสอบว่า พี่สาว/พี่ชาย/ลุง/ป้าสะไภ้ ได้หุ้นมาอย่างไร ถือเป็นรายได้ที่บุคคลเหล่านี้จะต้องเสียภาษีหรือไม่รวมทั้ง ปปช อาจสมควรมีการตรวจสอบว่า หุ้นในครอบครองของบุคคลเหล่านี้ ได้มาโดยชอบ หรือเป็นขบวนการซุกหุ้นของบุคคลในครอบครัว ที่ต้องยึดหรืออายัดคืน หรือไม่
4 ความผิดสำเร็จแล้วคุณกรณ์กล่าว นายกฯได้ชี้แจงว่า ‘เดี๋ยวปีหน้าก็จะเคลียร์หนี้แล้ว’ และได้ชี้แจงว่าหนี้ส่วนนี้ก็ได้มีการรายงาน ปปช. มาตลอดผมตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าหากมีการกระทำนิติกรรมอำพราง ความผิดได้สำเร็จไปแล้ว การเคลียร์หนี้ไม่ได้ทำให้ลบล้างความผิดที่เกิดขึ้นไปแล้วทั้งนี้ นรม ยื่นรายงาน ปปช เป็นครั้งแรก จึงไม่สามารถอ้างว่าได้มีการรายงาน ปปช. มาตลอด และการรายงาน ปปช. ก็ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติถูกต้องตามกฎสรรพากร
5 ภาระภาษีไม่ใช่เกิดขึ้นเมื่อจ่ายเงินจริงเมื่อบุคคลหนึ่งได้รับหุ้น เป็นการให้ ภาระภาษีเกิดขึ้น ณ วันที่ได้รับหุ้น ไม่ใช่วันที่มีการจ่ายเงินสิ่งที่ นรม อ้างว่า ภาระภาษีเกิดขึ้น เมื่อมีการชำระเงิน จึงไม่ถูกต้อง
ข่าว
6 ก.ค. 2568 19:12 156 views
ข่าว
6 ก.ค. 2568 15:33 194 views
ข่าว
6 ก.ค. 2568 15:02 156 views
ข่าว
6 ก.ค. 2568 14:29 218 views
ข่าว
6 ก.ค. 2568 14:18 216 views
ข่าว
6 ก.ค. 2568 14:16 192 views
ข่าว
6 ก.ค. 2568 14:13 156 views
ข่าว
6 ก.ค. 2568 14:10 171 views
ข่าว
6 ก.ค. 2568 14:01 249 views
ข่าว
6 ก.ค. 2568 11:49 180 views
ข่าว
6 ก.ค. 2568 11:38 180 views
ข่าว
6 ก.ค. 2568 11:33 189 views
ข่าว
6 ก.ค. 2568 11:27 186 views
ข่าว
6 ก.ค. 2568 11:21 198 views
ข่าว
6 ก.ค. 2568 11:08 235 views
ข่าว
6 ก.ค. 2568 10:10 166 views