วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม 2568
1 เม.ย. 2568 08:39 | 1137 view
@pracha
แผ่นดินไหว‘เมียนมา’ครั้งนี้อาจแรงสุดในรอบ75ปี ผู้เชี่ยวชาญชี้ปัจจัยส่งผลกระทบหนัก
นสพ.The Independent ของอังกฤษ เสนอรายงานพิเศษ Why was the earthquake in Myanmar and Thailand so damaging as death toll crosses 1,600 ว่าด้วยเหตุแผ่นดินไหวในประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2568 ซึ่งมีคำถามตามมาว่าเหตุใดจึงส่งผลกระทบอย่างรุนแรง มีรายงานผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,600 ราย รวมถึงส่งผลกระทบไปไกลถึงกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศไทย จนมีรายงานอาคารที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างพังถล่มลงมา ทำให้คนงานที่กำลังทำงานอยู่เสียชีวิตหลายราย
แผ่นดินไหวขนาด 7.7 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1,644 ราย และบาดเจ็บ 2,376 คนในเมียนมา อีกทั้งยังสร้างความเสียหายกับศาสนสถาน โรงพยาบาล ถนนและสะพานต่างๆ ตามรายงานเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2568 โดยองค์การสหประชาชาติ (UN) ทีมกู้ภัยต้องพยายามอย่างหนักในการไปให้ถึงพื้นที่ที่ต้องการความช่วยเหลือ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานได้รับความเสียหาย
แผ่นดินไหวครั้งนี้มีความลึก 6.2 ไมล์ (10 กม.) และมีศูนย์กลางอยู่ห่างจากเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเมียนมาไปประมาณ 10.3 ไมล์ (17 กม.) ตามมาด้วยอาฟเตอร์ช็อกรุนแรงขนาด 6.4 แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อแผ่นเปลือกโลก ซึ่งเป็นหินขนาดใหญ่ที่ประกอบเป็นเปลือกโลกเสียดสีกัน สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกา (USGS) ระบุว่า แผ่นดินไหวในเมียนมาเกิดจาก “รอยเลื่อนตามแนวระดับ (Strike Slip Faulting)” ระหว่างแผ่นเปลือกโลกอินเดียและยูเรเซีย ซึ่งเป็นจุดที่ประเทศเมียนมาตั้งอยู่
แม้เมียนมาตั้งอยู่บนเส้นแบ่งเขตระหว่างแผ่นเปลือกโลก 2 งแผ่น จึงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีแผ่นดินไหวบ่อยที่สุดในโลก อย่างไรก็ตาม แผ่นดินไหวรุนแรงเช่นนี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนักในภูมิภาคสะกายซึ่งได้รับผลกระทบหนักหน่วง โดย โจแอนนา โฟเร วอล์กเกอร์ (Joanna Faure Walker) ศาสตราจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวจากยูนิเวอร์ซิตี้คอลเลจลอนดอน (UCL) กล่าวว่า เส้นแบ่งเขตระหว่างแผ่นเปลือกโลกอินเดียและแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียทอดยาวในแนวเหนือ-ใต้ ตัดผ่านกึ่งกลางประเทศ
แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนผ่านกันในแนวนอนด้วยความเร็วที่ต่างกัน แม้ว่าจะทำให้เกิดแผ่นดินไหวแบบ “ตามแนวระดับ” ซึ่งไม่รุนแรงเท่ากับแผ่นดินไหวใน “เขตการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (Subduction Zones)” แต่ก็ยังสามารถเกิดแผ่นดินไหวได้ในขนาด 7 ถึง 8 ซึ่ง บิล แมคไกวร์ (Bill McGuire) นักธรณีวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านภูเขาไฟจาก UCL กล่าวว่า แม้ในในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภูมิภาคสะกายต้องเผชิญกับแผ่นดินไหวหลายครั้ง รวมถึงแผ่นดินไหวขนาด 6.8 ที่คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 26 รายในปี 2555 แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2568 อาจเป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้นบนแผ่นดินของเมียนมาในรอบ 75 ปี
โรเจอร์ มัสสัน (Roger Musson) นักวิจัยกิตติมศักดิ์จากสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาอังกฤษ (BGS) กล่าวว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้มีความลึกเพียงเล็กน้อย ส่งผลให้ความเสียหายรุนแรงมากขึ้น โดยคลื่นกระแทก (Shockwaves) ไม่สามารถสลายตัวได้เมื่อเคลื่อนจากจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวขึ้นสู่ผิวดิน อาคารต่างๆ จึงได้รับแรงสั่นสะเทือนเต็มที่ สิ่งสำคัญคือต้องไม่มุ่งความสนใจไปที่ศูนย์กลางแผ่นดินไหว เนื่องจากคลื่นไหวสะเทือน (Seismic Waves) ไม่ได้แผ่ออกมาจากศูนย์กลางแผ่นดินไหว แต่แผ่ออกมาจากแนวรอยเลื่อนทั้งหมด
โครงการภัยพิบัติแผ่นดินไหวของ USGS ระบุว่าผู้เสียชีวิตอาจมีตั้งแต่ 10,000 - 100,000 คน โดยใช้ข้อมูลจากขนาด ตำแหน่งที่ตั้ง และความพร้อมรับมือแผ่นดินไหวโดยรวมของเมียนมา เนื่องจากยังไม่มีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้ทนทานต่อแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในเขตสะกาย เพราะเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่นั่นก็หมายความว่าความเสียหายอาจรุนแรงมาก
มัสสัน ยังกล่าวด้วยว่า แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2500 และไม่น่าจะมีการสร้างบ้านเรือนให้ทนทานต่อแรงสั่นสะเทือนที่รุนแรงเท่ากับที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2568 ทั้งนี้ แผ่นดินไหวส่วนใหญ่ในเมียนมามักเกิดขึ้นทางตะวันตก แต่ครั้งนี้เกิดขึ้นที่ใจกลางประเทศ
ข่าว
30 เม.ย. 2568 16:23 169 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 16:20 152 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 16:16 122 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 16:12 146 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 14:24 282 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 14:09 132 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 13:44 195 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 13:17 242 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 12:55 147 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 12:32 146 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 11:34 205 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 11:28 187 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 11:27 152 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 11:24 262 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 11:13 161 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 11:06 132 views