วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม 2568
10 เม.ย. 2568 09:22 | 358 view
@pracha
แต้มต่อหายไปทุกวัน! ‘ศิริกัญญา’สับ‘รัฐบาลไทย’จุดชนวนส่ง‘อุยกูร์’กลับ‘จีน’ ผลัก‘พี่เบิ้มมะกัน’ไปเป็นอื่น ถูกอัดกำแพงภาษีอ่วม หนุน‘กู้เงิน’เพิ่ม สู้‘วิกฤติเศรษฐกิจ’ อย่าตีเช็กเปล่า ชี้วิกฤตใหญ่หลวง ลึก กว้าง ต้องจับมือก้าวข้าม ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
วานนี้ 9 เม.ย.2568 เวลา12.00น. ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่1 ทำหน้าที่ประธานการประชุม พิจารณาญัตติด่วน
เรื่องขอให้สภาผู้แทนราษฎรที่พิจารณาศึกษาผลกระทบและมาตรการรับมือจากการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกาเสนอโดยนายอรรถกร ศิริลัทธยากร สส.ฉะเชิงเทรา พรรคกล้าธรรม ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้พิจารณาญัตติด่วนด้วยวาจาดังกล่าวโดยพิจารณารวมกับญัตติด่วนด้วยวาจาที่มีหลักการทำนองเดียวกันอีกจำนวน 9 ญัตติ รวมเป็น 10 ญัตติ
น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน อภิปรายว่า การขึ้นกำแพงภาษีสหรัฐสร้างผลกระทบหนักหนารุนแรงต่อเศรษฐกิจโลกรุนแรงกว่าทุกครั้ง เกิดการตัดราคาสินค้า การหาตลาดใหม่ๆ ทำให้สินค้าต่างๆไหลเข้าประเทศไทย สินค้าไทยที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ 3อันดับแรกคือ อุปกรณ์สื่อสารไวไฟ ฮาร์ดดิสด์ไดร์ฟ แผงโซลาร์เซลล์ ไม่ใช่แค่ผู้ส่งออกได้รับผลกระทบ แต่รวมถึงแรงงานที่เสี่ยงถูกเลิกจ้าง ไม่มีใครคาดการณ์ได้สงครามการค้าโลกจะสิ้นสุดลงเมื่อใด เพราะสหรัฐฯบอกมี 70ประเทศต่อคิวเข้าเจรจาลดกำแพงภาษี ยิ่งมีการตอบโต้มาตรการภาษีไปมาระหว่างสหรัฐฯกับจีน ย่อมส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทย
“แต่ไพ่ที่เราจะไปเจรจาไม่ได้มีอะไรอัศจรรย์ ใหญ่เบิ้มอย่างที่สหรัฐฯต้องการ แต้มต่อที่เคยมีหายไปทุกวัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าการส่งชาวอุยกูร์กลับจีน ทำให้มิตรกลายเป็นอื่น ยิ่งมีการแจ้งจับนักวิชาการสหรัฐฯ ข้อหามาตรา112 ไม่ให้ประกันตัว ไม่รู้เขาจะเจรจากับเราหลังมีเรื่องนี้หรือไม่” น.ส.ศิริกัญญา กล่าว
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวต่อว่า ไม่ได้ติดใจการไม่เร่งรีบเจรจาของรัฐบาลไทยกับสหรัฐ โดยขอรอดูท่าทีก่อน แต่เรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องเร่งทำควบคู่กับการเจรจาคือ การเยียวยา กระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ยิ่งการเจรจากินเวลาต่อเนื่องยิ่งกระทบปากท้องประชาชนมากขึ้น จากการคาดการณ์จีดีพีกรณีเลวร้ายที่สุด อาจโตแค่1% สูงสุดไม่เกิน 2.3% รัฐบาลเตรียมมาตรการฉุกเฉินอะไรบ้าง หลายประเทศออกมาตรการเยียวยาผลกระทบ อาทิ เกาหลีและญี่ปุ่นใต้มีแพคเกจเยียวยาภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ ออสเตรเลียให้สินเชื่อเอกชนในการหาตลาดใหม่ๆ การเยียวยาเฉพาะหน้ามีความจำเป็น รัฐบาลต้องรีบทำ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ แต่ยังไม่เห็นมาตรการรูปธรรมจากภาครัฐ
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า วันนี้ปัญหาเฉพาะหน้าใหญ่หลวง การลงทุนหยุชะงัก คนกำลังตกงาน ต้องมีมาตรการฉุกเฉินเฉพาะหน้า ระยะกลาง ระยะยาว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไปในเวลาเดียวกัน ขณะนี้งบประมาณการคลังที่เหลืออยู่มีน้อยมาก หนี้สาธารณะใกล้ชนเพดาน เหลือพื้นที่กู้เพิ่มได้อีกในงบประมาณปี2568 อีก 4-5แสนล้านบาท หากวิกฤติที่จะเผชิญในวันข้างหน้า ที่รัฐบาลจำเป็นต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ถ้าต้องขยายกรอบเพดานหนี้สาธารณะ เพื่อกู้เงินเพิ่มสภาฯยินดีสนับสนุน ถ้าไม่ได้กู้เพื่อไปแจกเงินอย่างสะเปะสะปะ
“ถ้ามีแผนชัดเจนเพื่อพยุงเศรษฐกิจ ฟื้นฟูประเทศ ให้กู้เลยเพื่อนำงบมาเยียวยาภาคอุตสาหกรรม แรงงาน ไปปรับโครงสร้างเศรษฐกิจอย่างจริงจัง ให้กู้เลย เพื่อเพิ่มความสามารถแข่งขัน กระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน ขออย่างเดียวอย่ากู้ไปแจก เพื่อเทน้ำลงบ่อทราย ตีเช็กเปล่าให้ตัวเอง หรือกู้โดยไม่มีแผนที่ชัดเจน วันนี้วิกฤติใหญ่หลวง ทั้งลึกและกว้าง กินเวลายาวนาน ต้องจับมือไปก้าวข้ามไปด้วยกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ใช้โอกาสนี้ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ” น.ส.ศิริกัญญา กล่าว
ข่าว
1 พ.ค. 2568 10:11 35 views
ข่าว
1 พ.ค. 2568 09:54 45 views
ข่าว
1 พ.ค. 2568 09:52 92 views
ข่าว
1 พ.ค. 2568 09:46 34 views
ข่าว
1 พ.ค. 2568 09:31 43 views
ข่าว
1 พ.ค. 2568 09:22 52 views
ข่าว
1 พ.ค. 2568 09:04 65 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 16:23 224 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 16:20 196 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 16:16 152 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 16:12 177 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 14:24 323 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 14:09 156 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 13:44 257 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 13:17 281 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 12:55 174 views