วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม 2568
11 เม.ย. 2568 10:13 | 572 view
@pracha
สหรัฐฯขึ้นภาษี10% ไทยสูญ1-1.5แสนล้าน ดัชนีCCIมีนาคมวูบ
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงอยู่ที่ระดับ 56.7 เป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 แต่ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลง ยังมีความเสี่ยงว่าจะยังคงลดลงต่อเนื่อง จากปัจจัยต่างๆ นอกจากนี้ยังต้องจับตาในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2568 เศรษฐกิจจะมีการซึมตัวหรือไม่ ภายหลังจากที่ ทรัมป์ 2.0 ได้มีการขยายการขึ้นภาษีทุกประเทศโดยขยายออกไป 90 วัน ดังนั้น การเก็บภาษีนำเข้าไทย 37 % จะยังไม่มีผล โดยขณะนี้ ยังมีผลเฉพาะการประกาศขึ้นภาษี 10% เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา และโอกาสที่สหรัฐจะลดภาษีนำเข้าจากไทย 0% เป็นไปได้ยากเนื่องจากไทยเป็นประเทศที่เกินดุลสหรัฐ
ทั้งนี้ จากการขึ้นภาษีสินค้านำเข้า 10% หอการค้ามีการประเมินว่ามูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจะอยู่ที่ 1-1.5 แสนล้านบาท กระทบต่อการจีดีพีไทย 0.7-0.9% ซึ่งเป็นการคาดการณ์ในเบื้องต้น เพราะว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างไม่สิ้นสุด ยังต้องรอติดตามในช่วง 90 วันว่าสหรัฐจะดำเนินการอย่างไรอีกหรือไม่ รวมไปถึงการเดินหน้าเจรจาของไทย เพราะสหรัฐประกาศการขึ้นภาษีเพื่อตั้งใจให้มีการเจรจาต่อรอง เพราะโอกาสที่สหรัฐได้รับผลกระทบ หรือแรงกดดันภายในประเทศยังมี ทั้งเรื่องของเงินเฟ้อการว่างงานอยู่
นายวาทิตร รักษ์ธรรม ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer Confidence Index: CCI) ในเดือนมีนาคม 2568 โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,242 คน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค อยู่ที่ระดับ 56.7 เป็นการปรับตัวลดลงทุกรายการต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าจากนโยบาย Trump 2.0 ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ของไทยและทั่วโลกปรับตัวลดลง แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลแต่ผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวได้ช้า โดยดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม อยู่ที่ระดับ 50.5 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม อยู่ที่ระดับ 54.2 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต อยู่ที่ระดับ 65.4 ปรับตัวลดลงทุกรายการต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับดัชนีในเดือนกุมภาพันธ์ ที่อยู่ในระดับ 51.5 55.2 และ 66.7 ตามลำดับ การที่ดัชนียังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ (ที่ระดับ 100) แสดงว่า ผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคต เพราะมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในประเทศ และค่าครองชีพที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง
ข่าว
22 พ.ค. 2568 16:29 199 views
ข่าว
22 พ.ค. 2568 16:11 153 views
ข่าว
22 พ.ค. 2568 16:03 133 views
ข่าว
22 พ.ค. 2568 15:52 122 views
ข่าว
22 พ.ค. 2568 15:44 129 views
ข่าว
22 พ.ค. 2568 15:12 119 views
ข่าว
22 พ.ค. 2568 14:55 333 views
ข่าว
22 พ.ค. 2568 14:54 147 views
ข่าว
22 พ.ค. 2568 14:03 179 views
ข่าว
22 พ.ค. 2568 14:01 133 views
ข่าว
22 พ.ค. 2568 13:28 148 views
ข่าว
22 พ.ค. 2568 13:02 139 views
ข่าว
22 พ.ค. 2568 12:13 182 views
ข่าว
22 พ.ค. 2568 12:11 198 views
ข่าว
22 พ.ค. 2568 11:50 138 views
ข่าว
22 พ.ค. 2568 11:43 137 views