วันที่ 4 พฤษภาคม 2568
4 พ.ค. 2568 11:37 | 84 view
กทม.เร่งเต็มสูบค้นหาผู้สูญหายยันขอกู้จนครบ
ก่อนเลิกภารกิจ ผอ.ปภ.กทม. คาดไม่เกิน 1 อาทิตย์ ทราบชัด มีผู้ติดค้างในซากอาคาร สตง.ที่พังถล่มหรือไม่ ขณะที่ผบก.น.2 ร่วมประชุมเน้นย้ำการเก็บหลักฐานในที่เกิดเหตุตึก สตง.ถล่ม ขณะที่ ดีเอสไอ-โยธาธิการ-พฐ.-ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโครงสร้างจาก ม.เกษตรฯ ลุยเก็บหลักฐานตึก สตง.ถล่มอีกรอบ ก่อนอายัดไว้เพื่อป้องกันการถูกทำลาย
วานนี้ 3 พฤษภาคม 2568 นายสุริยชัย รวิวรรณ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยความคืบหน้าประจำวันภารกิจค้นหาผู้ติดค้างในอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่กำลังก่อสร้างในพื้นที่เขตจตุจักร ถล่มจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 68 ว่า เมื่อวานพบร่างผู้เสียชีวิตที่สมบูรณ์เพิ่ม 3 ร่าง สามารถระบุได้ว่าเป็นเพศหญิง 1 ร่าง ไม่สามารถระบุเพศได้ 2 ร่าง และยังพบชิ้นส่วนร่างกายอีก 22 ชิ้น บริเวณโซน C4
สำหรับการขนย้ายวัสดุออกจากพื้นที่ เมื่อวานทำได้ 204 เที่ยว โดยแผนการปฏิบัติงานวันนี้ยังคงยึดตามเมื่อวานเนื่องจากการดำเนินงานประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ในส่วนของเครื่องจักรอุปกรณ์การทำงานยังมีเพียงพอ และมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วงที่ฝนตกหนักมีปัญหาเรื่องการระบายน้ำบ้าง แต่ทางสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ได้มาตั้งเครื่องสูบน้ำให้ และใช้เวลาระบายน้ำออกจากพื้นที่ไม่นาน
ปัจจุบันการทำงานบริเวณทางเชื่อมด้านอาคารจอดรถด้านหลังยังลงไปไม่ถึงพื้นของชั้นใต้ดิน ชั้นใต้ดินมี 1 ชั้น สูง 4 เมตร ยังเหลืออีก 2 เมตร จะถึงพื้นของชั้นใต้ดิน เนื่องจากตัวอาคารกดทับลงมาทำให้พื้นชั้น 1 สูงจากพื้นชั้นใต้ดินไม่ถึง 1 เมตร เมื่อลงไปถึงพื้นตรงนั้นคาดว่าจะพบผู้ประสบเหตุเพิ่ม
ทั้งนี้ จากตัวเลข 103 ราย เหลือผู้สูญหาย 11 ราย เมื่อนับรวมกับร่างที่เจอเมื่อวาน 3 ร่าง จะเหลือผู้สูญหายอยู่ที่ 8 ราย แต่ในความเป็นจริง ทางพนักงานสอบสวนได้รับแจ้งเพิ่มเติม 4 ราย ซึ่งมีการพบร่างของผู้ที่แจ้งเพิ่มเติมแล้ว 1 ราย ถ้านับรวมกับร่างของผู้สูญหายที่ได้รับแจ้งเพิ่มเติมจะรวมเป็น 104 ราย และยังมีที่แจ้งเพิ่มไว้อีก 3 ราย ดังนั้นหากพบครบ 103 ราย แล้วเลิกภารกิจก็มีความเสี่ยงในการทิ้งผู้สูญหายไว้ เป้าหมายคือการช่วยนำผู้ที่ติดอยู่ในซากตึกออกให้หมด จึงต้องมีการทำงานต่อจนกว่าจะไม่มีใครติดค้างอยู่ คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 1 อาทิตย์ ก็จะเกิดความชัดเจนว่าไม่มีใครติดค้างอยู่
เวลา 08.00 น. วันเดียวกัน ที่ศูนย์กองอำนวยการร่วม สน บางซื่อ ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ พ.ต.อ.ธิติพงศ์ ภิวัฒน์วุฒิกุล รอง ผบก.น.2 ได้ร่วมประชุมทีมพนักงานสอบสวนชุดเก็บหลักฐานในที่เกิดเหตุอาคารสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม โดยมี พนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ ชุดสอบสวนตำรวจนครบาล บก.น.2 ทีมวิศวกรกรมโยธาธิการและผังเมือง และ ทีมพิสูจน์หลักฐาน กองพิสูจน์หลักฐานตำรวจ เข้าประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าการจัดเก็บหลักฐานที่เป็นวัสดุก่อสร้างในที่เกิดเหตุ โดยทีมวิศวกร จากกรมโยธาฯ ประสานขออายัดชิ้นส่วนเสาอาคาร และผนังปล่องลิฟต์ รวมทั้งชิ้นส่วนเหล็กบริเวณดังกล่าว เพิ่มเติม เพื่อจะนำไปตรวจสอบทางวิศวกรรมต่อไป
เวลา 10.30 น. ที่บริเวณพื้นที่ก่อสร้างโครงการอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (แห่งใหม่) แขวงและเขตจตุจักร กรุงเทพฯ ร.ต.อ.สุรวุฒิ รังไสย์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) พร้อมด้วย พ.ต.อ.สนอง แสงมณี ผกก.สน.บางซื่อ เจ้าหน้าที่ ปภ. เจ้าหน้าที่กรมโยธาธิการและผังเมือง เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานกลาง สำนักงานกองพิสูจน์หลักฐานตำรวจ รศ.ดร.กิจพัฒน์ ภู่วรวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโครงสร้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ร่วมกันประชุมวางแผนหารือการเข้าพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อรวบรวมเก็บพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุสำหรับนำประกอบสำนวนคดีตึก สตง.ถล่ม
จากนั้น คณะผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ได้เข้าพื้นที่เกิดเหตุพร้อมกัน โดยได้อนุญาตให้สื่อมวลชนและหน่วยงานเกี่ยวข้องเข้าร่วมสังเกตการณ์เป็นสักขีพยานในระหว่างการเข้าเก็บพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุด้วย
ทั้งนี้ คณะพนักงานสอบสวนคดีตึก สตง.ถล่ม ให้ข้อมูลว่า ในการลงพื้นที่เข้าเก็บรวบรวมพยานหลักฐานจากที่เกิดเหตุในวันนี้ ถือเป็นปฏิภารกิจดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องของทุกภาคส่วน ทั้งตำรวจ ดีเอสไอ กองพิสูจน์หลักฐาน โยธาธิการและผังเมือง เจ้าหน้าที่ ปภ. โดยในวันนี้ทั้งหมดได้ร่วมกันเก็บชิ้นส่วนตัวอย่างเสาคอนกรีตด้านหน้าอาคารไปตรวจสอบ ด้วยการเจาะแท่งปูนเสาดังกล่าวและผนังปล่องลิฟต์ธรรมดา ที่ไม่ใช่ผนังปล่องลิฟต์ผู้บริหาร โดยจะไม่ได้มีการเจาะลึกมากเกินไป เพราะต้องคืนสภาพของเสาปูนและผนังปูนให้พื้นที่ไว้
สำหรับการตรวจเก็บตัวอย่างเสาปูนและผนังปูนนั้น เจ้าหน้าที่จะพยายามเก็บตัวอย่างที่มีความสมบูรณ์มากที่สุดอย่างน้อย 3 ชิ้น หรือมากกว่านั้น โดยต้องวัดขนาดความสูงประมาณ 20-30 ซม. และมีค่าเส้นผ่านศูนย์กลาง 7 ซม. เพื่อนำไปหาค่ากำลังอัดประลัยของคอนกรีตสำหรับโครงสร้างในห้องแล็บ โดยมีเกณฑ์มาตรฐาน คือ ทั้งเสาปูนและผนังปูน จะต้องมีค่ากำลังอัดประลัยอยู่ที่ 500 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ซึ่งหากทดสอบแล้วมีค่าน้อยกว่า 500 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร จะถือว่ามีการใช้วัสดุตกเกณฑ์มาตรฐาน
ในส่วนของพยานวัตถุในจุดเกิดเหตุ ทั้งคอริ่งบริเวณเสาปูน ผนังปล่องลิฟต์ และเหล็กนั้น เจ้าหน้าที่จะดำเนินการอายัดไว้ทั้งหมดระหว่างการรื้อถอน เพื่อป้องกันการถูกทำลาย โดยในวันที่ 4 พ.ค. เวลา 11.00 น. คณะพนักงานสอบสวนคดีตึก สตง. จะได้มีการประชุมความคืบหน้าร่วมกันที่กองอำนวยการร่วม เพื่อสรุปตัวเลขผู้เสียชีวิตและผู้สูญหายต่อไป
ข่าว
4 พ.ค. 2568 14:19 47 views
ข่าว
4 พ.ค. 2568 13:24 74 views
ข่าว
4 พ.ค. 2568 13:08 83 views
ข่าว
4 พ.ค. 2568 12:11 93 views
ข่าว
4 พ.ค. 2568 12:04 70 views
ข่าว
4 พ.ค. 2568 12:02 94 views
ข่าว
4 พ.ค. 2568 11:58 136 views
ข่าว
4 พ.ค. 2568 11:54 59 views
ข่าว
4 พ.ค. 2568 11:52 63 views
ข่าว
4 พ.ค. 2568 11:47 87 views
ข่าว
4 พ.ค. 2568 11:45 85 views
ข่าว
4 พ.ค. 2568 11:40 102 views
ข่าว
4 พ.ค. 2568 11:37 85 views
ข่าว
4 พ.ค. 2568 11:30 93 views
ข่าว
3 พ.ค. 2568 17:49 262 views
ข่าว
3 พ.ค. 2568 17:39 225 views