วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม 2568
20 พ.ค. 2568 10:14 | 65 view
@pracha
ไทยหวัง ลุ้นส่งออกไก่หลังบราซิลเจอไข้หวัดนก กรมปศุสัตว์ย้ำระบบป้องกันโรคแน่นหนา"
นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่าจากสถานการณ์ที่เกิดไข้หวัดนกระบาดในบราซิล โดยบราซิลยืนยันพบการระบาดของเชื้อไวรัส HPAI ซึ่งเป็นสายพันธุ์รุนแรงในฟาร์มแห่งหนึ่ง ทำให้ประเทศจีนและสหภาพยุโรป สั่งระงับนำเข้าเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์จากประเทศบราซิล สถานการณ์นี้อาจส่งผลดีต่อการส่งออกไก่ของไทยซึ่งประเทศบราซิลถือเป็นผู้ส่งออกเนื้อไก่รายใหญ่ที่สุดของโลก และพบการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกชนิดรุนแรงครั้งนี้ ส่งผลให้ประเทศคู่ค้าอย่างจีนและสหภาพยุโรป (EU) ประกาศระงับการนำเข้าเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์จากบราซิลเป็นการชั่วคราวทันทีโดยข้อมูลจากสมาคมผู้ส่งออกเนื้อสัตว์ของบราซิล ในปีที่ผ่านมาระบุว่า จีนและ EU นำเข้าเนื้อไก่จากบราซิลรวมกันกว่า 793,000 ตัน ซึ่งคิดเป็นเกือบ 15% ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด สถานการณ์ดังกล่าวจึงเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยในการขยายตลาดและรองรับคำสั่งซื้อที่อาจเบนเป้ามาสู่ผู้ผลิตที่มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยด้านสุขภาพสัตว์ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาประเทศไทยเคยเกิดโรคไข้หวัดนกเพียงครั้งเดียวเมื่อกว่า 10 ปีก่อน และไม่เคยพบการระบาดซ้ำอีกเลย นับตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา กรมปศุสัตว์ได้วางระบบป้องกันโรคที่เข้มงวดและมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดซ้ำ ซึ่งได้รับการยอมรับจากประเทศคู่ค้าทั่วโลก นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ยังเน้นย้ำให้เกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก รักษามาตรการป้องกันโรคในฟาร์มอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะในช่วงที่สภาพอากาศแปรปรวน เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาด และรักษาความเชื่อมั่นจากตลาดส่งออก ซึ่งไม่เพียงส่งผลดีกับระบบการเลี้ยงสัตว์ของไทย แต่ยังอาจทำให้คำสั่งซื้อเนื้อไก่จากประเทศต่างๆ หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย เป็นอานิสงส์หลังไทยสามารถป้องกันโรคได้ดี
สำหรับมาตรการป้องกันไข้หวัดนกในฟาร์มของไทย ซึ่งมีความเข้มงวดและครอบคลุมทั้งระบบการผลิตและการควบคุมโรค มีแนวทางสำคัญดังนี้ 1) ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ที่ต้องจำกัดการเข้า-ออกฟาร์มอย่างเข้มงวดของบุคคลและยานพาหนะทุกประเภทซึ่งต้องผ่านการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อก่อนเข้า-ออกฟาร์ม อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในฟาร์มต้องได้รับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อสม่ำเสมอ รวมถึงห้ามนำสัตว์ปีกหรือผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกจากแหล่งที่ไม่ทราบประวัติหรือจากพื้นที่เสี่ยงเข้าฟาร์มโดยเด็ดขาด และต้องมีการจัดการมูลสัตว์และซากสัตว์ปีกอย่างถูกสุขลักษณะ 2) ระบบคอมพาร์ทเม้นท์ หรือ การเลี้ยงสัตว์ปีกระบบฟาร์มปิดตามมาตรฐานสากล (WOAH) ดำเนินการครอบคลุมตั้งแต่โรงงานอาหารสัตว์ ฟาร์ม ไปจนถึงโรงงานแปรรูป โดยต้องมีการควบคุมและติดตามสุขภาพสัตว์ปีกอย่างต่อเนื่อง 3) การเฝ้าระวังและติดตามสุขภาพสัตว์ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ โดยต้องมีการตรวจสอบสุขภาพสัตว์ปีกในฟาร์มเป็นประจำ หากพบสัตว์ปีกป่วยหรือตายผิดปกติ ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทันที รวมถึง การส่งเสริมการอบรมและให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับการเฝ้าระวังและป้องกันโรค 4) การควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก ต้องควบคุมและตรวจสอบการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์อย่างเข้มงวด และระงับการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ ไก่ไข่ และเนื้อสัตว์ปีก จากประเทศที่มีการระบาดของไข้หวัดนก เพื่อป้องกันการนำเชื้อเข้าสู่ประเทศ 5) การทำลายสัตว์ปีกในกรณีสงสัยสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติตามนิยามของโรคไข้หวัดนก ในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ที่มีความเกี่ยวข้องด้านระบาดวิทยา
สำหรับมาตรการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันโรคระบาดที่สำคัญในปศุสัตว์จะดำเนินการแบบบูรณการหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชน ภายใต้สุขภาพหนึ่งเดียว(one health) โดยไม่เพียงแต่ฟาร์มไก่เท่านั้นที่ต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันโรค แต่ยังรวมถึงฟาร์มสุกร ฟาร์มโค ฟาร์มแพะ-แกะ อีกด้วย เพื่อให้ประเทศไทยคงสถานะเป็นประเทศปลอดโรคและรักษา
ความเชื่อมั่นในสินค้าเกษตรต่อไปในตลาดโลก
หากเกษตรกรพบอาการสัตว์ผิดปกติ หรือมีข้อสงสัย หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานปศุสัตว์ในพื้นที่ หรือผ่านทาง Application DLD 4.0 หรือโทรศัพท์สายด่วน 063-225-6888 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างทันท่วงทีต่อไป
ข่าว
20 พ.ค. 2568 12:21 34 views
ข่าว
20 พ.ค. 2568 12:17 33 views
ข่าว
20 พ.ค. 2568 12:15 36 views
ข่าว
20 พ.ค. 2568 12:09 32 views
ข่าว
20 พ.ค. 2568 11:49 29 views
ข่าว
20 พ.ค. 2568 11:43 30 views
ข่าว
20 พ.ค. 2568 11:30 63 views
ข่าว
20 พ.ค. 2568 11:24 72 views
ข่าว
20 พ.ค. 2568 10:37 55 views
ข่าว
20 พ.ค. 2568 10:28 61 views
ข่าว
20 พ.ค. 2568 10:25 68 views
ข่าว
20 พ.ค. 2568 10:14 66 views
ข่าว
20 พ.ค. 2568 10:11 65 views
ข่าว
20 พ.ค. 2568 10:01 79 views
ข่าว
20 พ.ค. 2568 09:50 119 views
ข่าว
20 พ.ค. 2568 09:41 85 views