วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม 2568
20 มิ.ย. 2568 10:54 | 953 view
@juthamas
ความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ เทวดาผู้รักษา หรือการประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ในประเทศไทยมีหลากหลายตามพื้นที่และบุคคล หากเราเจาะลึกไปที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยจะพบกับพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่ออยู่หลายประการ เช่น บุญบั้งไฟ และที่น่าสนใจคือพิธีรำผีแถน หรือ การรำผีฟ้า ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่นำความเชื่อมาใช้กับการรักษาผู้ป่วยของชุมชนไท - ลาว เพราะเชื่อว่าผู้นำการรำผีแถน หรือ ผีฟ้า นั้นจะสามารถช่วยปัดเป่าโรคภัยให้แก่ผู้ป่วย
ที่มา https://theisaanrecord.co/wp-content/uploads/2024/05/n20171120153051_10152.jpg
ผีฟ้า หรือ ผีแถน เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่เหนือกว่าผีตนอื่น โดยคำว่า “แถน” หมายถึง เทวดา มีความเชื่อกันว่าแถนที่ใหญ่ที่สุดคือ แถนหลวง หรือ พระอินทร์ ชาวอีสานเชื่อว่าผีฟ้ามีอำนาจในการทำลายอุปสรรคต่าง ๆ สามารถช่วยปกป้องคุ้มครองมนุษย์ที่ตกที่นั่งลำบากได้ ดังนั้นผู้คนในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมีความเชื่อว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นที่มีความผิดปกติ เหนือธรรมชาติ เช่น ภัยพิบัติ ล้วนเกิดจากความไม่พอใจของผี จึงเกิดการประกอบพิธีกรรมขึ้นเพื่อเป็นการบูชา กราบไหว้ขอขวาและขอความค้มครองตามความเชื่อ การรำผีแถน หรือ การรำผีฟ้า เป็นหนึ่งในพิธีกรรมที่ประกอบขึ้นจากความเชื่อ ถือเป็นพิธีกรรมในการรักษาผู้ป่วยของชุมชนไท-ลาว ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยที่พวกเขาเชื่อกันว่าผีฟ้าหรือผีแถนเป็นเทวดาที่มีอำนาจเหนือสรรพสิ่ง จึงสามารถช่วยดลบันดาลให้แก่มนุษย์ที่มีความเดือดร้อนจากอาการเจ็บปวดได้ ชาวอีสานเชื่อว่าอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นมาจากการไปกระทำการใด ๆ ก็ตามที่ผิดแก่ผีสางเทวดา โดยลักษณะของพิธีกรรมเป็นการเซ่นไหว้หรือบวงสรวงเพื่อเป็นการขอวอนต่อเทพเทวดา ผีฟ้า ให้ช่วยทำให้หายจากโรคภัย นอกจากนี้ยังรวมไปถึงขอให้ช่วยในเรื่องของการป้องกันภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้น
ที่มา https://variety.teenee.com/foodforbrain/img2/93109.jpg
ในการบวงสรวงเพื่อช่วยรักษาผู้ที่มีอาการเจ็บป่วย ต้องมีการอัญเชิญผีฟ้าหรือผีแถนมาสถิตอยู่ในร่างคนทรง เรียกว่า ผีฟ้า นางเทียน ในการรำผีฟ้าจะประกอบไปด้วย 4 ส่วนสำคัญในพิธีกรรม ดังนี้
1. ครูบา หรือ หมอลำ คือ ร่างทรงผีฟ้า มีหน้าที่ในการเป็นผู้สื่อสารกับผีและผู้ป่วย โดยส่วนมากจะเป็นเพศหญิงที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เป็นผู้ประกอบพิธีเพื่อทำการรักษา และขอขมาให้แถนปกป้องคนในชุมชน
2. หมอม้า หรือ หมอแคน คือผู้ที่ต้องทำหน้าที่เป่าแคนให้จังหวะในพิธีกรรม จะต้องเป็นผู้ที่มีความอดทนและมีประสบการณ์ โดยส่วนมากจะเป็นเพศชาย จังหวะของการเป่าแคนสามารถช่วยในการทำนายระยะเวลาของอาการผู้ป่วยได้อีกด้วย
3. ผู้ป่วย ผู้ที่เกิดอาการป่วยผิดปกติที่เกิดจากภูตผี โดยจะต้องแต่งกายตามแบบแผนพิธีกรรม คือ ผ้าไหม ผ้าขาวม้า พวงดอกมะละกอทัดหู สามารถฟ้อนรำกับครูบาได้
4. เครื่องคาย หรือ เครื่องเซ่นไหว้ เป็นเครื่องบูชาครูบาอาจารย์ ผี แถน สำหรับการขอขมาและเป็นสิ่งที่ใช้อัญเชิญผีแถนลงมา เช่น มาลัยดอกไม้ ข้าวต้มมัด เป็นต้น
ที่มา http://www2.nakhonphanom.go.th/charm/detail/66
ที่มา https://scontent.fbkk12-5.fna.fbcdn.net
เอกลักษณ์ของพิธีกรรมรำผีฟ้านั้นแตกต่างกันไปแต่ละพื้นที่ แต่ยังคงแสดงให้เห็นถึงความศรัทธาความเชื่อในการนับถือผีที่เหมือนกัน เป็นการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีดั้งเดิมต่อกันมา อีกนัยหนึ่งการฟ้อนรำผีฟ้ายังสามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีพลังสู้ต่อกับอาการป่วยต่อไป เพราะการฟ้อนรำช่วยสร้างความผ่อนคลาย ลดความตึงเครียดได้ไม่มากก็น้อย ชาวบ้านสืบทอดวัฒนธรรมในการสืบต่อจิตสำนึกด้านความกตัญญู โดยมีคติเตือนใจที่ว่า “คนไม่เห็น ผีเห็น”
ที่มาของข้อมูล
https://culturio.sac.or.th/content/1412
https://today.line.me/th/v3/article/LX2Rq80
http://www.m-culture.in.th/album/53473/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%9C%E0%B8%B5%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2
ข่าว
4 ก.ค. 2568 14:34 52 views
ข่าว
4 ก.ค. 2568 14:21 40 views
ข่าว
4 ก.ค. 2568 13:53 76 views
ข่าว
4 ก.ค. 2568 13:31 65 views
ข่าว
4 ก.ค. 2568 13:25 71 views
ข่าว
4 ก.ค. 2568 12:49 47 views
ข่าว
4 ก.ค. 2568 12:28 103 views
ข่าว
4 ก.ค. 2568 12:01 66 views
ข่าว
4 ก.ค. 2568 11:39 101 views
ข่าว
4 ก.ค. 2568 11:29 97 views
ข่าว
4 ก.ค. 2568 11:08 80 views
ข่าว
4 ก.ค. 2568 10:40 119 views
ข่าว
4 ก.ค. 2568 10:26 124 views
ข่าว
4 ก.ค. 2568 10:23 77 views
ข่าว
4 ก.ค. 2568 10:09 83 views
ข่าว
4 ก.ค. 2568 10:03 77 views