วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม 2568
3 ก.ค. 2568 14:15 | 124 view
@nipon supapoom
ยืนยันแล้ว! 3I/ATLAS วัตถุจากนอกระบบสุริยะดวงที่ 3 ห่างโลก 670 ล้านกม. ไม่มีอันตราย คาดหลุดออกไปตลอดกาล
วันนี้ (3 กรกฎาคม 2568) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) เปิดเผยข่าวการค้นพบครั้งสำคัญของวงการดาราศาสตร์โลก หลังโครงการ ATLAS (Asteroid Terrestrial-impact Last Alert System) ตรวจพบวัตถุคล้ายดาวหางเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา ก่อนจะยืนยันได้ว่านี่คือวัตถุ “นอกระบบสุริยะ” (Interstellar Object) ลำดับที่ 3 เท่าที่เคยค้นพบในประวัติศาสตร์มนุษย์ วัตถุดวงนี้เดิมถูกเรียกว่า C/2025 N1 (ATLAS) ตามการจำแนกแบบดาวหาง แต่หลังจากคำนวณวงโคจรอย่างละเอียดก็พบว่ามันไม่ได้ถือกำเนิดในระบบสุริยะของเราเลย จึงได้รับชื่อใหม่ว่า 3I/ATLAS โดยตัวอักษร “I” มาจาก “Interstellar” แปลตรงตัวว่า “ระหว่างดวงดาว” บ่งบอกถึงการเดินทางจากระบบดาวอื่นมาสู่ที่นี่
นักดาราศาสตร์อธิบายว่า ส่วนใหญ่ดาวหางและดาวเคราะห์น้อยที่เราพบในระบบสุริยะ แม้จะมีวงโคจรยาวไกลออกไปถึงขอบของเมฆออร์ต หรืออาจจะไม่กลับมาอีกนานนับล้านปี ก็ยังถือว่ามี “บ้านเกิด” อยู่ใต้แรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ แต่ 3I/ATLAS กลับมาจากระบบอื่นโดยสมบูรณ์ เดินทางผ่านอวกาศระหว่างดาวฤกษ์อย่างอิสระ ก่อนจะหลุดเข้ามาในอิทธิพลแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์เป็นเวลาสั้นๆ แล้วจะไม่หวนกลับมาอีก
นี่ถือเป็นวัตถุนอกระบบสุริยะดวงที่ 3 ต่อจาก “1I/ʻOumuamua” ซึ่งค้นพบในปี 2017 และ “2I/Borisov” ที่ค้นพบในปี 2019 โดย Oumuamua เป็นที่ฮือฮาเพราะรูปร่างประหลาดและวิถีโคจรลึกลับจนมีทฤษฎีมากมาย ตั้งแต่ดาวเคราะห์น้อยธรรมดา ไปจนถึงวัตถุเทคโนโลยีต่างดาว ขณะที่ 2I/Borisov เป็นดาวหางแบบคลาสสิกที่มีองค์ประกอบคล้ายดาวหางในระบบสุริยะ แต่ยืนยันแล้วว่ามาจากนอกระบบ สำหรับ 3I/ATLAS ทีมนักดาราศาสตร์ใช้ทั้งข้อมูลสังเกตการณ์ปัจจุบันและภาพย้อนหลังจากโครงการ Zwicky Transient Facility จนย้อนไปได้ถึงวันที่ 14 มิถุนายน ก่อนจะยืนยันวงโคจรว่าเป็นแบบเปิด (Hyperbolic Orbit) ที่ไม่ใช่วงโคจรปิดรอบดวงอาทิตย์เลย
ปัจจุบัน 3I/ATLAS อยู่ห่างจากโลกประมาณ 670 ล้านกิโลเมตร หรือราว 4.5 หน่วยดาราศาสตร์ (AU) โดยจะเคลื่อนเข้ามาใกล้ที่สุดที่ประมาณ 1.4 AU หรือใกล้กว่าวงโคจรดาวอังคารเล็กน้อย ก่อนจะพุ่งออกไปสู่อวกาศระหว่างดาวอีกครั้งโดยไม่มีวันกลับมา การคำนวณวงโคจรระบุอย่างมั่นใจว่า ไม่มีความเสี่ยงชนโลกหรือเป็นอันตรายใดๆ การค้นพบนี้ย้ำว่ามนุษย์เพิ่งมีศักยภาพตรวจจับวัตถุเหล่านี้ได้ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเทคโนโลยีกล้องสำรวจท้องฟ้าอัตโนมัติ ความเร็วสูง และการเชื่อมโยงข้อมูลทั่วโลก ทำให้สามารถจับสัญญาณของ “ผู้มาเยือนจากระบบดาวอื่น” ได้แม้จะปรากฏเป็นเพียงจุดแสงจางๆ ท่ามกลางดวงดาวนับล้าน
และนี่อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น นักดาราศาสตร์คาดว่ากล้องโทรทรรศน์ Vera C. Rubin Observatory ที่เพิ่งเปิดใช้งานจะเร่งอัตราการค้นพบวัตถุเหล่านี้อีกมากในอนาคต พร้อมเปิดหน้าต่างใหม่สู่การเข้าใจระบบดาวอื่นๆ การก่อตัวของระบบสุริยะ และอาจรวมถึงโอกาสไขปริศนาใหญ่ที่สุดเรื่อง “สิ่งมีชีวิตในจักรวาล”
ข่าว
3 ก.ค. 2568 20:20 65 views
ข่าว
3 ก.ค. 2568 20:01 98 views
ข่าว
3 ก.ค. 2568 18:31 68 views
ข่าว
3 ก.ค. 2568 16:13 146 views
ข่าว
3 ก.ค. 2568 15:47 97 views
ข่าว
3 ก.ค. 2568 14:45 93 views
ข่าว
3 ก.ค. 2568 14:40 119 views
ข่าว
3 ก.ค. 2568 14:15 125 views
ข่าว
3 ก.ค. 2568 13:43 99 views
ข่าว
3 ก.ค. 2568 13:26 116 views
ข่าว
3 ก.ค. 2568 12:47 222 views
ข่าว
3 ก.ค. 2568 11:37 191 views
ข่าว
3 ก.ค. 2568 10:51 269 views
ข่าว
3 ก.ค. 2568 10:42 157 views
ข่าว
3 ก.ค. 2568 10:15 144 views
ข่าว
3 ก.ค. 2568 10:02 184 views