วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม 2568
11 ก.ค. 2568 13:45 | 102 view
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน(ปชน.) แสดงความคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อน Soft Power ของรัฐบาล โดยระบุว่าเป็นเพียงวาทกรรมทางการเมืองที่ถูกหยิบมาใช้เพื่อสร้างภาพลักษณ์ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างหรือพัฒนาระบบรองรับผู้สร้างสรรค์
นายธัญวัจน์ ระบุว่า การรีแบรนด์พรรคการเมืองหรือการจัดกิจกรรมภายใต้ชื่อซอฟต์พาวเวอร์ในปัจจุบัน อาจสร้างความรู้สึกหวังในระยะต้น เพราะฟังดูทันสมัยและสอดรับกับเทรนด์โลก แต่หากขาดความเข้าใจในแก่นแท้ของซอฟต์พาวเวอร์ ซึ่งหมายถึงการส่งออกเรื่องเล่า ค่านิยม และอัตลักษณ์ที่โลกอยากเรียนรู้ ก็จะกลายเป็นเพียงการพายเรือวนอยู่กับที่ โครงการต่าง ๆ ที่อยู่ในงบประมาณรัฐ จึงเต็มไปด้วยคำว่า ซอฟต์พาวเวอร์แต่ไร้ทิศทาง
นายธัญวัจน์ กล่าวว่า ประสิทธิภาพของการใช้งบประมาณงาน SPLASH – Soft Power Forum 2568 ที่ใช้งบประมาณกว่า 55.4 ล้านบาทว่าเป็นเพียงการจัดแสดงศักยภาพภายในประเทศ โดยขาดกลไกการส่งออกวัฒนธรรมสู่เวทีนานาชาติ ขณะที่นโยบายหลายด้านที่อ้างถึงซอฟต์พาวเวอร์ กลับไม่มีระบบสนับสนุนทุนมนุษย์หรือศิลปินผู้ผลิตเนื้อหาและครีเอเตอร์ไทยได้ปรากฏตัวในเวทีสากล งานที่ควรเป็นเวทีสร้างอำนาจทางวัฒนธรรมกลับกลายเป็นกิจกรรมเพื่อสร้างภาพลักษณ์เชิงนโยบาย
เมื่อพิจารณางบประมาณปี 2569 ที่กำลังเข้าสู่การพิจารณาในสภา ยังคงจัดสรรเงินจำนวนมากให้กับโครงการที่ใช้คำว่าซอฟต์พาวเวอร์ แต่ไม่เคยเปลี่ยนโครงสร้าง ไม่เคยมีระบบสนับสนุนคนสร้างสรรค์อย่างเป็นรูปธรรม และไม่มีกลไกส่งออกเนื้อหาทางวัฒนธรรมที่ชัดเจน งบประมาณยังคงวนเวียนอยู่กับเวที งานโชว์ สื่อประชาสัมพันธ์ มากกว่าการลงทุนในทุนมนุษย์ ความฝัน และเรื่องเล่าที่จะอยู่ยืนยาวในความทรงจำของโลก
นายธัญวัจน์ กล่าวว่า แนวคิด Muay Thai Bootcamp ที่ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นำเสนอว่าเป็นเทรนด์สุขภาพแนวใหม่เพื่อฟื้นฟูร่างกายและจิตใจนั้น ซึ่งความพยายามยกระดับซอฟต์พาวเวอร์ด้วยการขายบริการอย่าง Thai Wellness หรือ Muay Thai Detox แม้จะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจในด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ แต่ยังไม่ใช่ซอฟต์พาวเวอร์โดยแท้จริง เนื่องจากไม่ได้ส่งต่อวัฒนธรรมให้เกิดการเรียนรู้ในต่างประเทศอย่างยั่งยืน
“Soft Power ที่แท้จริงต้องทำให้มวยไทยกลายเป็นวิชาหนึ่งในโรงเรียนต่างประเทศ มีครูมวยไทยที่ได้มาตรฐาน และมีเรื่องเล่าที่ฝังอยู่ในความทรงจำของคนทั่วโลก ไม่ใช่แค่ให้ชาวต่างชาติมาทดลองชั่วคราวในไทย ขณะเดียวกัน นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ให้นักกีฬาเป็นศิลปินแห่งชาติ โดยเห็นว่าเป็นการเบี่ยงเบนจากแก่นของซอฟต์พาวเวอร์ เพราะการดูแลสุขภาพและรายได้ของนักกีฬา เป็นหน้าที่ของกระทรวงที่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่ซอฟต์พาวเวอร์คือการทำให้นักกีฬาไทยกลายเป็นเรื่องเล่าที่โลกอยากติดตาม เป็นภาพแทนของวัฒนธรรมที่ผู้คนอยากมีส่วนร่วม และกลายเป็นแรงบันดาลใจระดับนานาชาติ” นายธัญวัจน์กล่าว
นายธัญวัจน์ กล่าวว่าผลลัพธ์จากการไม่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างซอฟต์พาวเวอร์ อาจนำไปสู่ปัญหาเชิงระบบ เช่น ศิลปินไม่สามารถเติบโตในระบบไทย , ประเทศยังคงเป็นเพียงฉากถ่ายทำของวัฒนธรรมคนอื่น , งบประมาณเบนไปจากผู้ผลิตเนื้อหาสู่กิจกรรมที่รัฐควบคุม และทำให้ประชาชนรู้สึกว่านโยบายเป็นเพียงเครื่องมือทางการเมือง ไม่ใช่การลงทุนระยะยาวที่สร้างการเปลี่ยนแปลงจริง
“วันนี้เรายังไม่มีระบบที่ทำให้คนเล่าเรื่องได้เติบโต ไม่มีเวทีให้ศิลปินไทยได้ยืนในระดับสากล และไม่มีการปกป้องเสรีภาพทางความคิดให้กับศิลปิน ซอฟต์พาวเวอร์จึงกลายเป็นเพียงคำที่รัฐใช้สร้างภาพว่าทันโลก แต่ไม่เข้าใจหัวใจของวัฒนธรรม” นายธัญวัจน์กล่าว
ข่าว
11 ก.ค. 2568 19:37 48 views
ข่าว
11 ก.ค. 2568 19:34 42 views
ข่าว
11 ก.ค. 2568 19:31 45 views
ข่าว
11 ก.ค. 2568 19:28 71 views
ข่าว
11 ก.ค. 2568 15:22 99 views
ข่าว
11 ก.ค. 2568 14:51 100 views
ข่าว
11 ก.ค. 2568 14:29 92 views
ข่าว
11 ก.ค. 2568 14:15 92 views
ข่าว
11 ก.ค. 2568 14:06 104 views
ข่าว
11 ก.ค. 2568 13:50 99 views
ข่าว
11 ก.ค. 2568 13:45 103 views
ข่าว
11 ก.ค. 2568 13:40 90 views
ข่าว
11 ก.ค. 2568 13:39 98 views
ข่าว
11 ก.ค. 2568 13:37 100 views
ข่าว
11 ก.ค. 2568 13:36 118 views
ข่าว
11 ก.ค. 2568 13:29 98 views