วันพุธที่ 16 กรกฎาคม 2568
16 ก.ค. 2568 13:34 | 125 view
@juthamas
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2568 ลดลง! ชี้ชัดปัจจัยลบรอบด้านรุมเร้า คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลง เหตุขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และปมภาษีแบบตอบโต้ เตรียมเสนอ 3 ข้อเร่งด่วนต่อภาครัฐ
วันที่ 16 ก.ค.68 - นายนาวา จันทนสุรคน รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) พร้อมด้วย ม.ล.ปีกทอง ทองใหญ่ รองประธาน ส.อ.ท. และประธานสายงานเศรษฐกิจและวิชาการ ได้ร่วมกันเปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2568 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 87.7 ปรับตัวลดลงจาก 88.1 ในเดือนพฤษภาคม 2568 สะท้อนถึงภาวะอุตสาหกรรมที่กำลังเผชิญกับแรงกดดันหลายด้าน
ส.อ.ท. ระบุว่า การปรับตัวลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นมีสาเหตุหลักมาจาก การปิดด่านและการระงับการนำเข้าน้ำมันและก๊าซ LNG จากไทย ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน , มาตรการภาษีสหรัฐฯ (Sectoral Tariff) ที่ปรับขึ้นภาษีในกลุ่มสินค้าเหล็กและอะลูมิเนียมจาก 25% เป็น 50% กระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย , ความขัดแย้งอิสราเอล-อิหร่าน ส่งผลให้ราคาพลังงานผันผวน การส่งออกและจำนวนนักท่องเที่ยวชะลอตัว , การไหลเข้าของสินค้าจากต่างประเทศกดดันผู้ประกอบการในประเทศ ทำให้การผลิตเพื่อส่งออกบางส่วนถูกแทนที่ด้วยสินค้านำเข้า , ราคาสินค้าเกษตรหดตัวรุนแรง ส่งผลกระทบต่อรายได้เกษตรกรและลดกำลังซื้อในภูมิภาค , ความขัดแย้งทางการเมืองภายในและความไม่แน่นอน กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและภาคเอกชน รวมถึงการที่เงินบาทแข็งค่า พร้อมกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาคจากเงินทุนไหลเข้าและการอ่อนค่าของดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม ในเดือนมิถุนายน ยังคงมีปัจจัยบวกจากการเร่งส่งออกก่อนสิ้นสุดมาตรการชะลอการเก็บภาษีแบบตอบโต้ (Reciprocal Tariff) ในเดือนกรกฎาคม 2568 รวมถึงสัญญาณการเจรจาการค้าระหว่างไทย–สหรัฐฯ ที่มีทิศทางเชิงบวก และกิจกรรมส่งเสริมการขายช่วงกลางปีที่ช่วยกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ
สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ก็ปรับตัวลดลงเช่นกัน มาอยู่ที่ระดับ 90.8 (จาก 91.7 ในเดือนพฤษภาคม 2568) เนื่องจากความไม่แน่นอนจากปัญหาบริเวณชายแดนไทย–กัมพูชาที่ปิดด่านต่อเนื่อง ซึ่งอาจกระทบมูลค่าการค้าชายแดนและผ่านแดนอย่างรุนแรง นอกจากนี้ มติคณะกรรมการค่าจ้างที่ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ในพื้นที่ กทม. และบางจังหวัด มีผล 1 กรกฎาคม 2568 ก็กระทบต่อต้นทุนการจ้างงานของผู้ประกอบการ SMEs โดยตรง รวมถึงความไม่แน่นอนของมาตรการภาษีแบบตอบโต้ (Reciprocal Tariff) ที่ยังคงส่งผลต่อสถานการณ์ทางการค้า อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสนับสนุนที่คาดว่าจะมาจากการอนุมัติงบกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.15 แสนล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.4% และโครงการเที่ยวไทยคนละครึ่ง 2568 ที่คาดว่าจะช่วยกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นและกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนอย่างทั่วถึง
ส.อ.ท. ได้เสนอข้อแนะนำต่อภาครัฐ 3 ข้อเร่งด่วน ได้แก่ มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปิดด่านการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา , เร่งรัดการใช้จ่ายงบกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.15 แสนล้านบาท รวมไปถึง เร่งเจรจาปรับลดอัตราภาษีนำเข้าสหรัฐฯ (Reciprocal Tariff)
ข่าว
16 ก.ค. 2568 17:14 104 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 16:55 83 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 15:55 112 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 15:45 98 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 15:21 95 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 15:16 107 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 15:16 94 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 15:12 88 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 14:41 133 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 14:35 111 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 14:21 109 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 13:55 129 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 13:51 191 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 13:34 126 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 13:24 148 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 13:18 131 views