วันพุธที่ 16 กรกฎาคม 2568
16 ก.ค. 2568 14:21 | 100 view
@nipon supapoom
ประธานสมาคมธนาคารไทย "ผยง ศรีวณิช" เตือนเศรษฐกิจนอกระบบขนาดใหญ่ ทำเหลื่อมล้ำ-ภาระคลัง เสนอ 3 แนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจระยะสั้นและยาว ดันปรับโครงสร้างหนี้ครัวเรือน-SME เร่งปฏิรูปกฎหมาย-ลงทุน R&D และสร้าง Informed Citizen เพื่อรับมือโลกที่เปลี่ยนแปลง
นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ได้ร่วมเวทีสัมมนา “iBusiness Forum Decode 2025: The Mid-Year Signal ถอดสัญญาณเศรษฐกิจโลก พลิกอนาคตเศรษฐกิจไทย” โดยได้ชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันกำลังติดกับดักซ้ำซ้อนและมีความเปราะบางสูง จากหลายแรงกดดัน ทั้งเรื่องภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ และปัญหาเชิงโครงสร้างภายในประเทศ โดยเฉพาะขนาดของเศรษฐกิจนอกระบบที่มีขนาดใหญ่
นายผยงระบุว่า เศรษฐกิจนอกระบบขนาดใหญ่นี้กำลังเป็นต้นเหตุของความเหลื่อมล้ำ เป็นภาระของระบบการคลัง และลดทอนประสิทธิภาพและความสามารถในการสร้างผลตอบแทนของภาคธุรกิจ ซึ่งเห็นสัญญาณได้ชัดเจนจากการที่ประเทศไทยยังมีสภาพคล่องเหลืออยู่ แต่เม็ดเงินกลับไหลออกไปลงทุนต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อแสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่า
นอกจากนี้ ยังพบสัญญาณของเศรษฐกิจนอกระบบในการเคลื่อนย้ายเงินทุน เช่น การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่เป็นผลจากส่วนที่อธิบายไม่ได้ หรือ "Error and Omission" ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ ซึ่งอาจสะท้อนถึงการเคลื่อนไหวของเงินทุนผ่านสินทรัพย์อย่างทองคำและคริปโตเคอร์เรนซีที่ไม่สามารถตรวจสอบหรือจับต้องได้ในระบบเศรษฐกิจจริง อีกด้านของเศรษฐกิจนอกระบบยังสะท้อนในการเป็นหนี้ของครัวเรือน โดยหากรวมหนี้ในระบบและ “หนี้นอกระบบ” (Gross debt) จะทำให้หนี้ครัวเรือนของไทยสูงถึง 117% ของ GDP นอกจากนั้น หนี้นอกระบบยังเป็นแหล่งสภาพคล่องสำคัญของเศรษฐกิจระดับฐานราก โดยพบว่า 40% ของผู้กู้หนี้นอกระบบ เป็นเจ้าหนี้นอกระบบในเวลาเดียวกัน ซึ่งสะท้อนถึงความเปราะบางทางการเงินและการขาดข้อมูลที่จำเป็นในการเข้าถึงการเงินในระบบ
นายผยงย้ำว่า การแก้ปัญหาเศรษฐกิจจำเป็นต้องเลิกแนวทางแบบ “เหมาเข่ง” หรือการใช้งบประมาณและทรัพยากรแบบไม่ตรงเป้าหมาย โดยต้องเดินหน้าแก้ไขปัญหาผ่าน 3 แนวทางพร้อมกันคือ “การกระตุก” เศรษฐกิจในระยะสั้น ผ่านมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ โดยเฉพาะกลุ่มหนี้ครัวเรือนและ SME ที่เปราะบาง , “การประคองและกระตุ้น” กลุ่มที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ: เพื่อไม่ให้กลุ่มปริ่มน้ำหลุดออกจากระบบ พร้อมทั้งสร้าง Safety net ที่เพียงพอและทั่วถึง และยกระดับรายได้และเพิ่มโอกาส ขณะที่ธุรกิจรายใหญ่ช่วยประคองรายเล็กและ Supply Chain และ “การปฏิรูป” ปรับโครงสร้าง ผันเศรษฐกิจนอกระบบเข้าสู่ในระบบ ปฏิรูปกฎหมาย (Regulatory Reform) โดยให้ความสำคัญกับ Enforcement & Compliance และทลาย Silo ของหน่วยงานที่ออกกฎหมาย , เพิ่มการลงทุนใน R&D เพื่อผลิตภาพและรายได้ที่สูงขึ้น
สร้าง Informed Citizen ที่เท่าทัน Dynamic ของโลกและสามารถใช้ประโยชน์จาก Disruptive technology ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
“การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก การขยายเพดานหนี้สาธารณะ อาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ต้องนำไปใช้เพื่อการปฏิรูป สร้าง Trust & Confidence ไม่ใช่เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น วิกฤตคือโอกาส หากทุกภาคส่วนร่วมมือกัน ประเทศไทยสามารถเปลี่ยนจุดเปราะบางให้กลายเป็นกล้ามเนื้อใหม่ของระบบเศรษฐกิจได้” นายผยงกล่าว พร้อมแนะนำให้ทบทวนงบประมาณปี 2569 เพื่อจัดลำดับความสำคัญใหม่ รวมถึงพิจารณาใช้เครื่องมือทางการคลังต่างๆ อย่างเหมาะสม บนพื้นฐานของการเชื่อมโยงทุกมิติ (Connect the dots) และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและวัดผลได้
ข่าว
16 ก.ค. 2568 17:14 97 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 16:55 78 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 15:55 108 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 15:45 94 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 15:21 87 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 15:16 102 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 15:16 90 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 15:12 84 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 14:41 127 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 14:35 107 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 14:21 101 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 13:55 122 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 13:51 188 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 13:34 120 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 13:24 141 views
ข่าว
16 ก.ค. 2568 13:18 128 views