วันที่ 27 กรกฎาคม 2568
27 ก.ค. 2568 11:14 | 61 view
@pracha
นักวิชาการ ห่วง หากศึกไทย-กัมพูชาไม่จบ หวั่นกระทบ SMEs- สหรัฐอาจกดดันภาษีนำเข้า
นายสมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง เปิดเผยถึง ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์ความตึงเครียดบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ว่า แม้คาดว่าภาพรวมเศรษฐกิจประเทศจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง แต่ผลกระทบในระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะต่อผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) และประชาชนในพื้นที่ชายแดนกลับรุนแรงและเฉียบพลัน
นายสมชาย กล่าวว่า ปัจจุบันการค้าระหว่างประเทศมีสัดส่วนประมาณ 60% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) โดยในจำนวนนี้ การค้าชายแดนมีสัดส่วนราว 10% จากมูลค่าการค้าทั้งประเทศประมาณ 18 ล้านล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นสัดส่วนไม่มากในระดับภาพรวม แต่ในระดับพื้นที่ กลับมีผลอย่างมีนัยสำคัญ ในทางเศรษฐกิจมหภาค ตัวเลขอาจดูไม่มากนัก แต่ในทางจุลภาค โดยเฉพาะในพื้นที่แนวชายแดน เช่น จังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน เชียงราย หรือมุกดาหาร ผลกระทบกลับรุนแรง เพราะพื้นที่เหล่านี้พึ่งพาการค้าชายแดนโดยตรง นายสมชาย กล่าวว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่อยู่ในภาคธุรกิจรายย่อย ซึ่งมักเป็น SMEs และแรงงานในท้องถิ่น โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้าข้ามแดน เช่น การขนส่ง การค้าปลีก และธุรกิจบริการ ซึ่งล้วนได้รับผลกระทบจากการปิดด่าน สงคราม หรือความไม่แน่นอนในการเคลื่อนย้ายสินค้าและแรงงาน
นายสมชาย กล่าวว่า ไทยยังคงมีพันธกรณีตามแผน กรอบความร่วมมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 2025 ซึ่งมุ่งเปิดเสรีการค้า การลงทุน และบริการภายในภูมิภาค ในทางปฏิบัติก็ยังมีอุปสรรคโดยเฉพาะในเรื่องการตรวจสอบชายแดนและการเคลื่อนย้ายแรงงานในวิชาชีพที่ได้รับการรับรองจากอาเซียน 8 สาขา เช่น วิศวกร แพทย์ พยาบาล มัคคุเทศก์ และสถาปนิก ซึ่ง แม้จะมีข้อตกลงในระดับภูมิภาค แต่ในเชิงปฏิบัติ การเคลื่อนย้ายบุคลากรหรือการค้าบริการยังติดข้อจำกัดหลายด้าน หากความขัดแย้งชายแดนยังคงยืดเยื้อ อาจกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนระหว่างกัน โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจที่ต้องการถือครองหุ้นเกิน 50% เช่น โรงแรมหรือสถานพยาบาลเอกชน
นายสมชาย กล่าวว่า นอกจากนี้ ตนเป็นห่วงว่า ความขัดแย้งรุนแรงระหว่างไทย กับ กัมพูชาครั้งนี้ อาจส่งผลต่อการเจรจาภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกาเนื่องจาก อัตราภาษีนำเข้าเบื้องต้นที่สหรัฐฯเรียกเก็บทั้ง กัมพูชาและไทยตอนนี้คือ 36% ในมุมหนึ่ง ตนคาดเดาว่าสหรัฐฯ อาจใช้กลยุทธ์เจรจาภาษี “กดดันทั้งสองฝ่าย” ด้วยการส่งสัญญาณว่า หากไม่ยุติความขัดแย้ง ก็จะไม่มีการพิจารณาลดภาษีนำเข้าสินค้า ก็เป็นไปได้
ซึ่งจากท่าที ของสหรัฐอเมริกา ที่ออกมาประกาศให้สองฝ่ายหยุดยิงและใช้วิธีสันติแก้ โดยตนตั้งข้อสังเกตว่า ความขัดแย้งชายแดนอาจกลายเป็นประเด็นต่อรองในเวทีเจรจาการค้าระหว่างไทย-สหรัฐฯ โดยเฉพาะในประเด็นสิทธิมนุษยชนและความมั่นคง ซึ่งสหรัฐฯ ให้ความสำคัญมากขึ้นในช่วงหลัง โดยเฉพาะหากมีหลักฐานหรือภาพลักษณ์ที่สะท้อนถึงการละเมิดสิทธิ หรือการใช้อาวุธในลักษณะสงคราม ดังนั้นทาง กระทรวงการต่างประเทศ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องพิสูจน์และรวบร่วมหลักฐานให้ชัดเจนและแน่ชัดว่า ไทยไม่ได้ เป็นฝ่ายเริ่มความรุนแรงครั้งนี้ก่อน ซึ่งการชี้แจงต่อนานาชาติอย่างตรงไปตรงมาอาจมีผลทำให้ไทยไม่เสียเปรียบทั้งในเรื่องความมั่นคงและในด้านการเจรจาทางการค้า
นายสมชาย กล่าวว่า สำหรับแนวทางการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ รัฐบาลควรให้ความช่วยเหลืออย่างจำเพาะเจาะจง โดยเน้นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น SMEs และประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบ และมาตรการควรชัดเจน เช่น สิทธิประโยชน์บางประการ รวมถึงการพักชำระหนี้ในช่วงวิกฤต และไม่ใช่ช่วยทุกกลุ่มโดยไม่จำแนก เพราะรัฐเองก็มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ นายสมชาย กล่าวว่า แนวทางการเยียวยาควรทำอย่างมีเป้าหมายและยืดหยุ่น เพื่อช่วยลดผลกระทบเฉพาะจุด โดยไม่เป็นภาระต่อระบบการคลังของประเทศมากเกินไป และต้องเร่งดำเนินการก่อนที่ความเสียหายจะลุกลามกลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง
ข่าว
27 ก.ค. 2568 13:48 51 views
ข่าว
27 ก.ค. 2568 11:56 88 views
ข่าว
27 ก.ค. 2568 11:32 103 views
ข่าว
27 ก.ค. 2568 11:24 246 views
ข่าว
27 ก.ค. 2568 11:18 65 views
ข่าว
27 ก.ค. 2568 11:15 137 views
ข่าว
27 ก.ค. 2568 11:14 62 views
ข่าว
27 ก.ค. 2568 10:35 85 views
ข่าว
27 ก.ค. 2568 10:29 124 views
ข่าว
27 ก.ค. 2568 10:18 78 views
ข่าว
27 ก.ค. 2568 10:09 87 views
ข่าว
27 ก.ค. 2568 09:50 90 views
ข่าว
27 ก.ค. 2568 09:41 64 views
ข่าว
27 ก.ค. 2568 09:31 169 views
ข่าว
27 ก.ค. 2568 09:26 120 views
ข่าว
26 ก.ค. 2568 17:53 244 views