วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2567
28 มี.ค. 2566 10:26 | 529 view
@kan
ปีนี้ต้องรวย! วิธีเก็บเงินให้เห็นผลภายใน 1 เดือน "ฉบับพนักงานออฟฟิศ"
“ออมก่อน รวยกว่า” เป็นกระแสสุดอินเทรนด์ แล้วเงินเดือนหมื่นนิดๆ เหลือเก็บแทบจะไม่มี มีหวังจะเป็นเศรษฐีกับเขาได้อย่างไรกัน ความคิดนี้ผิดเป็นอย่างมาก หลายคนอาจคิดว่าต้องมีเงินเดือนสูงๆ โบนัสดีๆ จึงจะสามารถแบ่งเงินมาลงทุนได้ แต่ที่จริงแล้วไม่ว่าคุณจะมีรายได้เท่าไหร่ หากจัดสรรเงินในแต่ละส่วนเพื่อการออมอย่างเหมาะสมก็สามารถนำเงินไปลงทุนเพื่อให้เงินงอกเงย สร้างช่องทางใหม่ๆ ให้กับรายได้ที่นอกเหนือจากเงินเดือนได้เช่นกันด้วย 4 วิธีที่น่าสนใจที่นำมาฝากในวันนี้
สูตรการเก็บเงิน 50:30:20 เป็นแนวทางในการจัดสรรงบประมาณที่ปรากฏในหนังสือการเงินส่วนบุคคลติดอันดับขายดีของ New York Times ชื่อว่า “All Your Worth: The Ultimate Lifetime Money Plan” เขียนโดย Elizabeth Warren อาจารย์ นักการเมือง นักเขียนชาวสหรัฐอเมริกา โดยหนังสือนั้นมีเป้าและสาระสำคัญให้ความรู้ทางการเงินแก่ชาวอเมริกัน สูตรการเงินที่โด่งดังมากคือ สูตร “50:30:20” ซึ่งเป็นแนวทางง่ายๆ ในการวางแผนงบประมาณของคุณ โดยแบ่งออกเป็น 50% สำหรับ
50% นั้นจะถูกแบ่งไปใช้สำหรับ “สิ่งจำเป็น” หรือ “Need” เงินส่วนนี้จะต้องเป็นส่วนที่เอาไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือใช้กับสิ่งจำเป็น เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเดินทาง ค่าที่อยู่อาศัย รวมถึง “หนี้สิน” ที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนด้วย จะเห็นได้ว่าเงินนี้เป็นเงินส่วนใหญ่ และจะขาดหรือลดไม่ได้เพราะต้องใช้เพื่อการดำรงชีวิตของเรา
30% นั้นจะถูกแบ่งไปใช้สำหรับ “สิ่งที่อยากได้” หรือ “Want” หรือส่วนที่แบ่งไว้สำหรับสิ่งที่เราอยากได้ เป็นเงินส่วนที่ไม่ได้มีผลกับชีวิตเรามากนัก แต่มีไว้เพื่อสร้างความสุข หรือเป็นรางวัลให้กับตัวเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องใช้ให้อยู่ในความพอ และเหมาะสมกับรายได้ของเรา
คือ Saving หรือส่วนที่แบ่งไว้สำหรับออม และนำไปลงทุนต่อยอด ถึงแม้เงินก้อนนี้จะน้อยสุด แต่สำคัญที่สุด เพราะมันคือเงินที่จะทำให้เราบรรลุเป้าหมายในอนาคต แถมเป็นเงินสำรองฉุกเฉินสำหรับเหตุการณ์ไม่คาดฝันอีกด้วย
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจน คือ เมื่อเราได้รับเงินเดือน 18,000 บาทแล้ว ก็ทำการแบ่งเป็น 3 ส่วนทันที ส่วนแรก 50% คือ 9,000 บาท ส่วนที่สองจำนวน 30% คือ 5,400 บาท และส่วนสุดท้าย 20% คือ 3,600 บาท เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ค่าใช้จ่ายสำหรับสิ่งที่อยากได้ และเงินสำหรับเก็บออมตามลำดับ
เราสามารถแบ่งเงินเดือนที่ได้ให้งอกเงยด้วยการลงทุนในกองทุนรวมซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับที่ไม่สูง เพราะกองทุนรวม เป็นรูปแบบการลงทุนที่รวบรวมเงินจากผู้ลงทุนหลายรายรวมกัน เพื่อซื้อตราสารทางการเงินต่างๆ รวมทั้งยังมีกองทุนรวมที่ช่วยลดหย่อนภาษีอย่าง SSF หรือ Super Savings Fund ที่เป็นกองทุนเน้นการออมระยะยาว และ RMF หรือ Retirement Mutual Fund ซึ่งเป็นกองทุนที่ส่งเสริมการออมเงินไว้ใช้จ่ายยามเกษียณอายุก็เป็นทางเลือกใช้เงินไปกับการลงทุนที่น่าสนใจ
วิธีนี้ก็เป็นวิธีที่น่าสนใจ เพราะเมื่อเงินเดือนเข้าก็สามารถแยกเงิน 1 ก้อนหรือเราอาจจะก็ตั้งโอนล่วงหน้าไปที่บัญชีนั้นเลย ซึ่งตอนนี้หลายธนาคารก็มีโปรโมชัน สิทธิประโยชน์มากมาย และที่สำคัญ คือ ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป และเมื่อแบ่งไว้แล้ว เราก็จะเห็นภาพรวมของเงินเดือน เงินฝากแบบเป็นระบบ เราจะได้ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ ที่แบ่งได้ เรียกได้ว่าการเปิดบัญชีฝากประจำ เป็นวิธีออมเงินที่บังคับให้เรามีวินัยเก็บเงินทุกเดือน เหมาะสำหรับพนักงานออฟฟิศที่มีรายได้ประจำคงที่ นอกจากจะเก็บเงินเดือนได้แล้ว ยังได้ดอกเบี้ยเต็มๆ อีกด้วย
แบงก์ 50 บาท เป็นแบงก์ที่เรามักไม่ค่อยจะได้เจอสักเท่าไร เพราะในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ เรามักจะได้แบงก์ 20 บาทหรือ 100 บาทกันมากกว่า เมื่อเราได้แบงก์ 50 บาทเป็นเงินทอนก็ต้องแยกเงินจำนวนนี้ออกมาเก็บหรือนำไปฝากเงินเอาไว้ การเก็บแบงก์ 50 บาททำให้การออมเป็นเรื่องง่าย ไม่จำเป็นต้องเก็บเดือนละหลายพันบาท เราจึงไม่ได้รู้สึกลำบากหรือเหนื่อยกับการเก็บเงินมากมาย ซึ่งวิธีนี้ดูเหมือนจะเป็นวิธีที่ง่าย แต่จริงๆ แล้วใช้วินัยสูงมาก ถ้าทำได้ก็ถือว่าชนะตัวเองในแต่ละเดือนไม่น้อย
เมื่อเห็น 4 วิธีง่ายๆ ที่เรานำมาเสนอนั้นอาจจะต้องเปลี่ยนความคิดใหม่แล้วว่าถ้าเงินเดือนน้อยแล้วชีวิตนี้คงไม่มีเงินเก็บ เงินเดือนหมื่นนิดๆ คงไม่สามารถจะออมเงิน หรือลงทุนอะไรได้ เพราะถ้าหากพนักงานออฟฟิศแบบเราๆ จัดสรรเงินให้เหมาะสมกับนำไปออมหรือลงทุนอย่างมีวินัยก็สามารถนำเงินไปต่อยอดและสร้างรายได้ใหม่ๆ ได้แน่นอน
ข่าว
10 ต.ค. 2567 15:14 215 views
ข่าว
10 ต.ค. 2567 15:10 155 views
ข่าว
10 ต.ค. 2567 15:06 143 views
ข่าว
10 ต.ค. 2567 14:36 181 views
ข่าว
10 ต.ค. 2567 14:33 165 views
ข่าว
10 ต.ค. 2567 14:31 154 views
ข่าว
10 ต.ค. 2567 14:04 96 views
ข่าว
10 ต.ค. 2567 12:44 219 views
ข่าว
10 ต.ค. 2567 11:35 153 views
ข่าว
10 ต.ค. 2567 11:34 165 views
ข่าว
10 ต.ค. 2567 11:30 172 views
ข่าว
10 ต.ค. 2567 11:27 182 views
ข่าว
10 ต.ค. 2567 11:24 155 views
ข่าว
10 ต.ค. 2567 11:21 219 views
ข่าว
10 ต.ค. 2567 09:38 172 views
ข่าว
10 ต.ค. 2567 09:35 191 views