×
Live หน้าหลัก ทันเหตุการณ์ ทั่วไป คุณภาพชีวิต อาชญากรรม เศรษฐกิจ ต่างประเทศ กีฬา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ทหาร การเมือง ภูมิภาค บทความ บันเทิง Olympic Games Paris 2024บทความ ไลฟ์สไตล์ สุขภาพ การเงิน โชคชะตาและความเชื่อ สัมภาษณ์&บทความ กิจกรรม ททบ. กิจกรรม ทบ. แนะนำรายการ หน่วยงานและเอกชน พอดแคสด์ ศูนย์ข่าววิทยุ ติดต่อเรา

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2567

?>

ทำไมประชาธิปไตยของไทยถึงอ่อนแอ ?

 19 ต.ค. 2566 14:25 | 27791 view

 @varin

Facebook X Share

อินเดีย... ไม่ไป ไม่รู้

ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้เดินทางไปเยือนอินเดียอีกครั้ง หลังจากที่ห่างหายกันมาพักใหญ่ เริ่มต้นจากการเดินทางไปท่องเที่ยว จนเกิดเป็นความสนใจต่อแทบทุกสิ่งรอบตัว ของประเทศที่ใครหลายคนไม่แม้แต่จะคิดอยากไป กระทั่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของทริปนี้ ยังออกปากกับผมขณะเสิร์ฟอาหาร ว่าเขาไม่รู้สึกชอบประเทศปลายทางนี้เลย

ตรงข้ามกับผมอย่างสิ้นเชิง ที่ตื่นตาตื่นใจและมีความสุขเสมอ กับแทบทุกขณะในประเทศแห่งนี้ (ยกเว้นก็แต่อาหาร ที่รสชาติไม่ถูกปากเอาเสียเลย และต้องระมัดระวังมากๆ เรื่องความสะอาด) จนตัดสินใจไปสมัครและสอบเพื่อเข้าเรียน ในมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่งมาแล้ว แค่ในท้ายที่สุดก็ไม่ได้เข้าไปเรียนจริงๆ ตามที่ได้ตั้งใจไว้

อินเดียเมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว ในสายตาของผม ภายใต้สโลแกนการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ว่า “Incredible India” (ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน ประเทศไทยก็ใช้สโลแกนส่งเสริมการท่องเที่ยวทำนองเดียวกัน ว่า “Amazing Thailand”) เริ่มต้นจากบนท้องถนนในนิวเดลี เมืองหลวงของประเทศอินเดีย 

 

ผมได้เห็นภาพรถเมล์ที่ผู้คนแน่นเป็นปลากระป๋อง นั่งกันบนหลังคารถก็มี และแทบจะไม่ได้จอดรับ ผู้โดยสารต้องวิ่งตามรถที่ชะลอความเร็วลง และกระโดดคว้าราวเพื่อปีนขึ้นไปเอง ได้ยินเสียงบีบแตรที่ดังสนั่นหวั่นไหว และท้ายของรถแทบทุกคันติดป้ายว่า “Blow Horn” ต่างอย่างสิ้นเชิงจากบ้านเรา ที่ถ้าบีบใส่กันขนาดนี้ คงได้ลงมาฟาดกันแน่ๆ เกิดเป็นความสนใจส่วนตัว เกี่ยวกับวัฒนธรรมการบีบแตรของผู้คนในประเทศต่างๆ

ใครที่เคยไปย่างกุ้ง ประเทศพม่า บนท้องถนนก็บีบแตรกันสนั่นเหมือนกัน แต่ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันมาก ในมุมมองของผม เสียงแตรบนท้องถนนของอินเดียนั้น มีความกลมกลืนอย่างประหลาด ในขณะที่พม่านั้น เข้าข่ายโกลาหล ส่วนท้องถนนของเวียงจันทน์ ประเทศลาว ก่อนคนจีนจะเข้ามานั้น ราว 10 นาทีที่ผมไปยืนอยู่บริเวณทางแยกกลางเมือง แทบไม่ได้ยินเสียงแตรเลยแม้แต่ครั้งเดียว

การเดินทางด้วยรถภายในประเทศอินเดีย ทำให้ผมมีเวลามากเป็นพิเศษ ที่จะได้เปิดหูเปิดหา มองและทำความเข้าใจกับสิ่งต่างๆ รอบตัว การสวนกันของรถโดยไม่ต้องสนใจว่าเลนใครเป็นเลนใคร ไหนจะต้องวัดใจขับหลบกันเองแล้ว ยังต้องขับหลบบรรดาวัว ซึ่งตามความเชื่อทางศาสนา เป็นสัตว์พาหนะของพระศิวะ และแพะตัวเล็กตัวน้อยที่เดินกันวุ่นวาย การหยุดรถเพื่อกินชาของคนขับ แม้ว่าผมจะลุ้นแทบเป็นแทบตายว่าจะตกเครื่องบินหรือไม่ ชีวิตของผู้คน 2 ข้างทาง ทำให้เวลานับ 10 ชั่วโมงบนท้องถนนในแต่ละวัน ไม่เคยน่าเบื่อเลย

 

ภาพโรงเรียนตามชนบทที่อาคารทรุดโทรมมาก จนเป็นเรื่องปกติที่ผมจะได้มองเห็นนักเรียนนั่งเรียนกันกลางแจ้ง แต่การสอบเข้าเรียนระดับปริญญาเอก กลับมีจำนวนผู้สมัครมากมาย ชนิดที่ต้องเปิดศูนย์สอบกระจายทั่วกันไปหมด คล้ายกับการสอบ ภาค ก. ของสำนักงาน ก.พ. บ้านเรา ผู้เข้าสอบก็ดูเป็นคนทั่วไปมากๆ ไม่ใช่แค่ชนชั้นนำหรือมีฐานะ ที่สำคัญก็คือ มีตำรวจนั่งเฝ้าประตูขึ้นตึกสอบด้วย

ผมคงไม่กล้าบอกว่าเหตุการณ์ต่อไปนี้ เกิดขึ้นในทุกห้องสอบ แต่ยืนยันได้ว่ามันเกิดขึ้นจริงในห้องสอบของผม ผู้สอบหลายสิบคน นั่งเป็นคู่ๆ ไม่ห่างกัน กับผู้คุมสอบ 3 คน ขณะที่ผมกำลังตั้งใจทำข้อสอบ ชาวอินเดียข้างๆ ก็สะกิดและพูดด้วยสำเนียงท้องถิ่นว่า “โอเป่นๆ” ผมมองไปรอบห้อง และพบว่าการลอกกันเป็นเรื่องปกติมาก หลายคนเปิดหนังสือ หลายคนเปิดโทรศัพท์ เพื่อค้นหาคำตอบ

ในครึ่งเช้า ครั้งหนึ่ง ผู้คุมสอบต่อว่าผู้เข้าสอบท้ายห้องที่เปิดโทรศัทพ์ดูคำตอบ แต่ผู้เข้าสอบลุกขึ้นและตะโกนสวนกลับ จนผู้คุมสอบทั้ง 3 คน ต้องเลือกที่จะย้ายไปนั่งรวมกันหน้าห้อง ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นกับการโกงสอบกันอย่างเอิกเริกที่เกิดขึ้น แม้แต่โต๊ะตรงหน้าตนเองเลยก็ตาม ผมจึงต้องถือคติ เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม จำใจเปิดให้คนข้างๆ ดู ถึงขนาดยอมให้หยิบข้อสอบไปลอกเลยด้วย

เข้าสอบช่วงบ่าย เกมเปลี่ยน ยังไม่ทันแจกข้อสอบ ตำรวจร่างสูงใหญ่ถือไม้เข้ามาในห้อง และฟาดลงเต็มแรงที่โต๊ะตัวหน้าสุด หนังสือเป็นกองที่เคยกระจายอยู่ตามโต๊ะของผู้เข้าสอบ ถูกหยิบออกไปวางไว้ด้านหน้าของห้องสอบทันที การลอกกันเบาบางลงจนเกือบจะหายไป ผู้คุมสอบเหมือนจะกลับมามีอำนาจ และสามารถทำหน้าที่ของตนเองได้อีกครั้ง... แหม่ Incredible India จริงๆ

 

 

อินเดีย... ประเทศประชาธิปไตย ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

สำหรับผม อินเดียคือแหล่งเรียนรู้ขนาดมหึมา ที่สามารถกระตุ้นความสนใจของคนอย่างผมได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ก่อนหน้านี้ การเดินทางไปอินเดียของผม เป็นไปเพื่อสนองต่อความสนใจเฉพาะเรื่องความรู้ทางโลก แต่การเดินทางครั้งล่าสุดนี้ คือครั้งแรกที่เป็นไปเพื่อสนองต่อความสนใจทางศาสนา เพื่อบูชาพระพิฆเนศ พระศิวะ และเยี่ยมชมกลุ่มถ้ำ 2 แห่ง ได้แก่ เอลโลร่า และอชันต้า

ความยิ่งใหญ่ และประสบการณ์ทางศาสนา คงไม่ใช่สิ่งที่ผมจะนำมาเล่าผ่านบทความของคอลัมน์การเมืองนี้ แต่เป็นคำถามแรกที่ผมถูกถาม โดยพนักงานต้อนรับของโรงแรมแห่งหนึ่ง หลังจากที่ผมผ่านเข้าเมืองของประเทศอินเดีย ประเทศประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากถึงกว่า 900 ล้านคน ใช่แล้วครับ “เก้าร้อยล้านคน” มากกว่าจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งของไทย ถึงกว่า 16 เท่าตัว

 

ขณะเช็คอิน เมื่อพนักงานต้อนรับทราบว่าผมมาจากประเทศไทย และเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เคยสอนรัฐศาสตร์ เขาก็ยิงคำถามที่ทำให้ผมประหลาดใจสุดๆ ไม่คิดว่าจะต้องมาตอบในสถานการณ์แบบนี้ ว่า “ทำไมประชาธิปไตยของไทยถึงอ่อนแอ ?” และขณะที่ผมกำลังอึ้งกับคำถามของเขา และพยายามจะเรียบเรียงคำตอบให้กระชับที่สุดอยู่ เขาก็ถามต่อทันทีว่า “เพราะสถาบันกษัตริย์ ใช่หรือไม่ ?”

ก่อนที่ผมจะเล่าให้ฟัง ว่าผมตอบคำถามนี้ไปอย่างไร ผมอยากแชร์ภาพในหัวของผมกับผู้อ่านทุกคนก่อน ว่าสำหรับผมแล้ว ข้อมูลเชิงประจักษ์เท่าที่ผ่านมา แม้อินเดียจะเป็นสังคมประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดของโลก และการประเมินระดับ รวมถึงอันดับความเป็นประชาธิปไตย ตลอดจนเสรีภาพทางการเมือง โดยหน่วยงานที่น่าเชื่อถือต่างๆ อยู่ในระดับและอันดับที่ดี และแน่นอนว่าดีกว่าประเทศไทยเสมอมา

แต่อินเดีย อย่างน้อยก็ในภาพรวม เป็นประเทศที่ประชากรมีระดับการศึกษาต่ำกว่าประเทศไทยแม้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP จะสูงมาก แต่ส่วนหนึ่งก็เพราะจำนวนประชากรที่เยอะเป็นอันดับ 2 ของโลก ทำให้เมื่อคำนวณออกมาเป็น GDP ต่อหัว จึงเหลือน้อยกว่าไทยถึงเกือบ 2 เท่าตัว ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อพิจารณาในแง่ของความเหลื่อมล้ำ ก็ปรากฏว่ามีความเหลื่อมล้ำที่สูงกว่าด้วย

ก็ถ้าเอากรอบทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ ซึ่งพยายามอธิบายเกี่ยวกับการพัฒนาทางการเมือง ว่ามีแนวโน้มที่จะสัมพันธ์กับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ รวมถึงการพัฒนาทางสังคม พูดง่ายๆ ก็คือ ประเทศที่ประชาชนมีสถานะทางเศรษฐกิจ ชัดๆ คือรวย และสถานะทางสังคม ตัวอย่างเช่น มีการศึกษา ก็มีความโน้มเอียงที่จะเป็นประชาธิปไตย ข้อมูลเท่าที่ยกมาแชร์ให้เห็นข้างต้นนี้ คงทำให้เราเข้าใจได้ค่อนข้างลำบาก เกี่ยวกับสถานการณ์ทางประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นใน 2 ประเทศนี้ ซึ่งสวนทางกับกรอบทฤษฎี

 

 

แล้วทำไม... ประชาธิปไตยของไทยถึงอ่อนแอ ?

แม้ว่าในใจของผม จะรู้สึกว่าประเทศไทยมีเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคมที่ดีกว่าอินเดีย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเรามีประชาธิปไตยที่อ่อนแอกว่า (แม้ว่าลึกๆ ในใจ ก็ยังคงแอบคิดว่า ด้วยเงื่อนไขเหล่านี้ มันก็ควรจะแข็งแรงกว่าสิ ก็ตาม) คำถามของพนักงานต้อนรับโรงแรม จึงทำให้ผมอดไม่ได้ที่จะรู้สึกขายหน้า และเหมือนกำลังโดนดูถูกอยู่ ยังไงชอบกล

อย่างตรงไปตรงมา โดยส่วนตัว ผมไม่ได้จะเป็นจะตายกับการที่บ้านเมืองจะต้องเป็นประชาธิปไตย อาจจะเพราะผมเกิดมาในขณะที่บ้านเมืองก็เป็นแบบนี้แล้ว ที่สำคัญ คือผมไม่ได้ยึดติดกับคำเรียก หรือชื่อของระบอบการปกครองสักเท่าไหร่ เพราะเอาเข้าจริง มันไม่สามารถบังคับให้ข้อเท็จจริงทางสังคมเป็นไปตามชื่อเรียกนั้นๆ ได้โดยอัตโนมัติ และแต่ละสังคมก็มีสิ่งที่ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรียกเอาไว้ว่า “รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม” ของตนเอง

 

คำตอบอย่างกระชับของผม ที่ให้แก่พนักงานต้อนรับโรงแรม คือ “ประเทศไทยมีการรัฐประหารที่บ่อยมาก” ถามว่าบ่อยแค่ไหน ก็เฉลี่ยแล้ว 7 ปี เกิดขึ้นครั้งหนึ่ง จะมีทิ้งช่วงห่างหน่อย ก็หลังจากปี 2520 มาเกิดอีกทีปี 2534 และอีกครั้งเมื่อปี 2549 จนทำให้ช่วงปี 2540 และหลังจากนั้น หลายคนแอบเชื่อว่าการรัฐประหารอาจไม่เกิดขึ้นอีกแล้วในประเทศไทย กระทั่งเหตุการณ์เมื่อปี 2549 ตามด้วยล่าสุด ปี 2557 ซึ่งนี่ก็เกินระยะเวลาเฉลี่ยมาพอสมควรแล้วเหมือนกัน

การรัฐประหารบ่อยๆ ทำให้พัฒนาการของประชาธิปไตยของไทย มีเหตุให้ต้องเดินถอยหลังกลับไปอยู่เรื่อยๆ เอาแค่ในแง่ของระยะเวลา ตีกลมๆ ว่า 90 ปีที่ผ่านมา ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง นักวิชาการต่างคำนวณออกมาว่า จริงๆ แล้ว สังคมการเมืองเราใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการ มากกว่าที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยด้วยซ้ำ

โอกาสในการเรียนรู้และปรับตัวของผู้คน รวมถึงวัฒนธรรมทางการเมืองของสังคม เพื่อให้สอดคล้องกับอุดมคติของระบอบการปกครองที่สถาปนาขึ้นใหม่ มันจึงมีไม่มากอย่างที่ควรจะเป็น และการรัฐประหารแต่ละครั้ง ก็ทำให้สังคมไทยต้องเสียเวลาไปกับกระบวนการเดินหน้า-ถอยหลัง เพื่อกลับสู่ประชาธิปไตยซ้ำๆ จนไม่เป็นอันทำอะไรอื่น

 

ภายหลังการรัฐประหาร สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ การฉีกรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ที่ประกาศใช้เมื่อปี 2560 ภายหลังการรัฐประหารเมื่อปี 2557 ก็นับเป็นฉบับที่ 20 แล้ว คิดเฉลี่ยกลมๆ ว่าเรามีรัฐธรรมนูญใหม่กันทุกๆ 4 ปี บ่อยพอๆ กับการนัดกันมาแข่งขันกีฬาโอลิมปิก โดยที่รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ กว่าจะประกาศใช้ ก็มีกระบวนการกันพอสมควร นั่นหมายความ เราสาละวนอยู่กับมันแทบจะตลอดเวลา

การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ภายหลังจากที่รัฐบาลของคณะทหารหมดวาระ พรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามก็จะชูเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่าเป็นรากเหง้าของทุกปัญหาทางการเมือง ที่เป็นต้นตอของพิษที่ทำให้ออกลูกมาเป็นพิษ เมื่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเข้ามารับตำแหน่ง ก็จะเริ่มต้นกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็อย่างที่เป็นอยู่ขณะนี้นี่แหละครับ ศึกษา ยกร่าง ลงประชามติ ประกาศใช้ คาดกันว่าก็คงจะพอดีกับวาระของรัฐบาล ออกมาใหม่กันอีกฉบับ

การเขียนและฉีกรัฐธรรมนูญบ่อยๆ เช่นนี้ ส่งผลข้างเคียงให้รัฐธรรมนูญของไทยนั้นไม่ศักดิ์สิทธิ์ เทียบไม่ได้เลยกับกฎกระทรวงเล็กๆ สักฉบับ ที่อยู่ยั้งยืนยง ทำให้หลายคนพูดว่า แท้ที่จริงแล้ว ประเทศไทยนั้นไม่ได้ปกครองด้วยกฎหมายสูงสุดอย่างรัฐธรรมนูญ แต่เป็นกฎหมายเล็กๆ น้อยๆ อย่างพวกกฎกระทรวง หรือประกาศกรม นี่แหละ

พอเราเขียนแล้วฉีกแล้วเขียนใหม่กันเป็นว่าเล่นเช่นนี้ บวกกับเนื้อหาก็มีแนวโน้มที่จะยาวขึ้นเรื่อยๆ มันเลยทำให้ไม่ค่อยมีใครสนใจว่ารัฐธรรมนูญเขียนอะไรไว้บ้าง ก็ถ้าไม่ได้เกี่ยวข้องกับตนเองโดยตรง เช่น ไม่ได้จะไปลงรับสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร ก็คงไม่ได้ไปเปิดอ่านว่าเขากำหนดคุณสมบัติอะไรไว้บ้าง นี่ขนาดว่าเป็นผู้สมัครที่ได้รับเลือกให้เป็น ส.ส. แล้ว ในรอบที่ผ่านมา ก็ยังปรากฏว่าขาดคุณสมบัติกันก็หลายคน ต้องลาออกกันวุ่นวายไปหมด

สมัยเรียน ป.ตรี ที่ ม.เกษตรศาสตร์ ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ จึงสั่งให้นิสิตที่ลงทะเบียนเรียน ต้องคัดลอกรัฐธรรมนูญมาส่ง เพื่อบังคับให้ได้อ่านกันเสียบ้าง จะได้รู้ว่าที่ท่องๆ กันมาว่า รัฐธรรมนูญคือข้อตกลงสูงสุดในการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม มันเขียนไว้ว่าอย่างไร ถ้าไม่เคยรู้ไม่เคยเห็น ไม่เคยอ่านเนื้อหาของมันกันเลย แล้วมันจะมีสถานะเป็นข้อตกลงจริงๆ ในการอยู่ร่วมกันได้อย่างไร

 

 

สถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่ปัญหาของประชาธิปไตยไทย

ในระยะเวลาอันสั้น นอกจากผมจะพยายามสรุปให้พนักงานโรงแรมคนนั้น พอมองเห็นสภาพปัญหาของประชาธิปไตยไทย ว่า 90 ปีกลมๆ ที่ผ่านมาของเรา เราเสียเวลาส่วนใหญ่ไปกับวัฏจักรของการรัฐประหาร การร่างรัฐธรรมนูญ การกลับมาเป็นประชาธิปไตย และร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และโดนรัฐประหารอีก ไปจนเกือบจะไม่มีเวลาทำอะไรอื่นที่จะเป็นประโยชน์กับระบอบการปกครองนี้ เท่าที่เดินมาได้ถึงปัจจุบัน ก็ต้องถือว่ามาได้ไกลกันพอสมควรแล้ว เพดานของสังคมได้ถูกยกสูงขึ้นเรื่อยๆ

เหนือสิ่งอื่นใด คือผมยืนยันว่าความเข้าใจอย่างฉาบฉวยของเขานั้นไม่ถูกต้อง สถาบันพระมหากษัตริย์ โดยตัวของสถาบันเอง ไม่ใช่ปัญหาของประชาธิปไตยไทย แต่เป็นหนึ่งในสถาบันของสังคมการเมืองไทย ที่อยู่มาก่อนระบอบการปกครองนี้ และก็ต้องปรับตัวเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และได้พยายามปรับตัวอย่างยิ่ง เพื่อให้สามารถมีสถานะและบทบาทที่สอดคล้องกับเงื่อนไขของระบอบการปกครองใหม่นี้ จนถึงขนาดที่นักวิชาการบางกลุ่ม แม้จะมีจุดยืนที่แตกต่างออกไป แต่ก็ยอมรับว่าทำได้ประสิทธิผลดี จนสามารถสถาปนา “อำนาจนำ” ได้ด้วยซ้ำ

คิดง่ายๆ โดยสามัญสำนึก ว่าถ้าสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ฟังก์ชันภายใต้เงื่อนไขของระบอบใหม่ สถาบันก็คงดำรงอยู่มาได้ไม่ยาวนานถึงเพียงนี้ เช่นเดียวกับสถาบันการเมืองอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป แต่เพราะโดยเนื้อแท้แล้ว สถาบันพระมหากษัตริย์มีความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมของสังคมไทย ทั้งที่ผ่านมา และใช้กันอยู่อย่างไม่เป็นลายลักษณ์อักษรในปัจจุบัน

ไม่ว่าใครจะชอบใจหรือไม่กับข้อสรุปนี้ของผมก็ตาม แต่ก็คงไม่อาจปฏิเสธข้อเท็จจริงเหล่านี้ได้

 

 

 

ศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ

ผู้อำนวยการ สมาคมนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์

อีเมล [email protected]

 

เป็นเพื่อนกับบัญชีทางการ LINE ของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุดและอีกมากมาย!

เพิ่มเพื่อน

ทันเหตุการณ์

ข่าว

'จิราพร'โชว์โครงการยกระดับสวนสาธารณะบึงหนองบอน พร้อมดันเป็นสวนสาธารณะระดับมหานคร

10 ต.ค. 2567 15:14 218 views

ข่าว

นายกฯชูวิสัยทัศน์ “ABC” บนเวทีอาเซียน-เกาหลีใต้ เน้นพัฒนาเทคโนโลยี

10 ต.ค. 2567 15:10 155 views

ข่าว

'นายกฯ'ประชุมอาเซียน-ญี่ปุ่น ไทยเสนอ 3 แนวทางเพิ่มความร่วมมือระหว่างกัน

10 ต.ค. 2567 15:06 143 views

ข่าว

ยกพวกล้อมบ้าน! 'ฝูงแรคคูน'หิวโหยป่วนหนัก ทำหญิงสหรัฐฯไม่กล้าออกจากบ้าน

10 ต.ค. 2567 14:36 183 views

ข่าว

ทีมทนายมูลนิธิรณรงค์ทวงคืนความยุติธรรม พาผู้เสียหายเข้าให้ข้อมูลกับตำรวจ หลังถูกขายฝันให้ร่วมลงทุนธุรกิจขายตรง

10 ต.ค. 2567 14:33 166 views

ข่าว

'ไพบูลย์' เผยคำร้อง 'ธีรยุทธ' มีพยานบุคคลทั้งบ้านจันทร์ส่องหล้า-ชั้น 14 รพ.ตำรวจ

10 ต.ค. 2567 14:31 155 views

ข่าว

ลดระบายน้ำเจ้าพระยา รับมือน้ำทะเลหนุนสูง 

10 ต.ค. 2567 14:04 96 views

ข่าว

'ธีรยุทธ' ร้องศาลรธน. ชี้ 6 จุดตาย 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครองฯ

10 ต.ค. 2567 12:44 219 views

ข่าว

ไบเดนเลื่อนการเดินทางเยือนเยอรมนี เหตุเพราะพายุเฮอร์ริเคน ‘มิลตัน’

10 ต.ค. 2567 11:35 153 views

ข่าว

ทช.เร่งยกระดับโครงข่ายให้สมบูรณ์ เดินเครื่องโปรเจกต์งบปี 68 กว่า 5 หมื่นล้าน

10 ต.ค. 2567 11:34 165 views

ข่าว

เปิดนาที! 'ติ๊ก ชิโร่'ก้มกราบขอขมาจุดเกิดเหตุ หลังขับรถชนสาวเสียชีวิต

10 ต.ค. 2567 11:30 172 views

ข่าว

ระทึก! ไฟไหม้รถมินิบัส กลางมหาวิทยาลัยดัง วอด 3 คันรวด

10 ต.ค. 2567 11:27 182 views

ข่าว

"ประเสริฐ" ยันไม่กังวล - ไม่หนักใจ ปม "ธีรยุทธ" ร้องศาล รธน. "เพื่อไทย - ทักษิณ" ล้มล้างการปกครอง

10 ต.ค. 2567 11:24 156 views

ข่าว

นายกฯกล่าวถ้อยแถลงสุดยอดอาเซียน - จีนมุ่งเน้นการบูรณาการเศรษฐกิจ สานสัมพันธ์ประชาชน

10 ต.ค. 2567 11:21 219 views

ข่าว

ผู้โดยสารระทึก! 'กัปตัน'วัย59ปีหมดสติ-เสียชีวิตขณะบิน ต้องลงจอดฉุกเฉินที่นิวยอร์ก

10 ต.ค. 2567 09:38 172 views

ข่าว

'ไทย'ได้เป็นสมาชิก คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ปี'68-70

10 ต.ค. 2567 09:35 191 views