วันพุธที่ 30 เมษายน 2568
6 เม.ย. 2568 16:42 | 1315 view
@nipon supapoom
จากเหตุแผ่นดินไหวที่ส่งผลให้เกิดอาคารถล่มในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สร้างความเสียหายและสูญเสียอย่างมาก หน่วยกู้ภัยจากหลายภาคส่วนต่างเร่งเข้าพื้นที่เพื่อค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งหนึ่งในกำลังสำคัญที่เข้าเสริมการทำงานในภารกิจครั้งนี้ คือ “สุนัขกู้ภัย” หรือ K-9 SAR DOG จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่เข้าปฏิบัติหน้าที่ร่วมค้นหาผู้รอดชีวิตจากใต้ซากอาคาร
โดยกองทัพบกได้ส่ง สุนัขทหาร จากศูนย์การสุนัขทหาร กรมการสัตว์ทหารบก เข้าร่วมภารกิจอันสำคัญนี้
สำหรับ K-9 มาจากคำว่า “Canine” ในภาษาละติน หมายถึง “สุนัข” และกลายมาเป็นรหัสเรียกขานของสุนัขทหารที่ปฏิบัติภารกิจร่วมกับมนุษย์ ไม่ใช่ในฐานะสัตว์เลี้ยง แต่ในฐานะ กำลังพลคู่ใจที่ไม่มีอาวุธประจำกาย แต่อาวุธของพวกเขาคือประสาทรับรู้ ทั้งรูป รส กลิ่น เสียง และที่สำคัญที่สุด คือหัวใจที่ภักดีและพร้อมปฏิบัติหน้าที่เมื่อได้รับคำสั่ง
รู้จักกับ กองพันสุนัขทหาร กรมการสัตว์ทหารบก
สำหรับกองทัพบก มีหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบดูแลสุนัขทหาร คือ กองพันสุนัขทหาร กรมการสัตว์ทหารบก ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งทำหน้าที่ผลิต ฝึก และกำกับดูแลสุนัขทหารเพื่อใช้ในภารกิจด้านความมั่นคง และงานกู้ภัยร่วมกับหน่วยงานต่างๆ
สายพันธุ์ และการฝึกสุนัขทหาร
ปัจจุบัน สุนัขทหารของกองทัพบกมีอยู่ด้วยกัน 5 สายพันธุ์หลัก ได้แก่
เยอรมันเชพเพิร์ด (German Shepherd)
ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ (Labrador Retriever)
เบลเยียม มาลินอยส์ (Belgian Malinois)
โดเบอร์แมน (Doberman)
ร็อตไวเลอร์ (Rottweiler)
สุนัขแต่ละตัวจะต้องผ่านการคัดเลือกจากพันธุ์ประวัติและโครงสร้างร่างกายที่สมบูรณ์ ก่อนเข้าสู่โปรแกรมการฝึก “Puppy Training Program” ตั้งแต่อายุ 2-3 เดือน เรียนรู้การทำงานร่วมกับมนุษย์ การตอบสนองต่อสิ่งเร้า และทักษะเฉพาะทางในสถานการณ์จำลอง ก่อนประเมินเพื่อเข้าสู่การปฏิบัติภารกิจจริง
ภารกิจ และหน้าที่ของสุนัขทหาร
เมื่อผ่านการประเมิน สุนัขทหารจะถูกบรรจุลงประจำหน่วยในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนภารกิจด้านความมั่นคง โดยสามารถแบ่งประเภทหน้าที่ได้เป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่:
1. สุนัขยุทธวิธี (Tactical Types) – ค้นหาทุ่นระเบิด อุโมงค์ ลาดตระเวน และสะกดรอย
2. สุนัขรักษาความปลอดภัย (Security Types) – ยามเฝ้าพื้นที่ สายตรวจ อารักขา ควบคุมฝูงชน และตรวจวัตถุระเบิด
3. สุนัขหน้าที่พิเศษ (Special Duties Types) – ตรวจค้นยาเสพติด ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ปฏิบัติภารกิจจริงในเหตุการณ์สำคัญ
ที่ผ่านมา สุนัขทหารได้แสดงศักยภาพในเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ของประเทศ อาทิ
• การค้นหาผู้สูญหายในอุทยานแห่งชาติทับลาน จ.นครราชสีมา
• ภารกิจค้นหาผู้สูญหายจากเหตุอุโมงค์รถไฟไทย-จีนถล่ม ณ อ.ปากช่อง
• การค้นหาพระสงฆ์สูญหายบนเขาสลัดใย จ.วังน้ำเขียว
และล่าสุดกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในกรุงเทพมหานคร สุนัขทหารจากกองทัพบกได้แสดงความสามารถอีกครั้ง ในการร่วมค้นหาและระบุตำแหน่งผู้รอดชีวิตใต้ซากอาคาร
หลังปลดประจำการ : ยังได้รับการดูแลอย่างอบอุ่น
สุนัขทหารจะมีอายุการใช้งานเฉลี่ย 8 ปี ก่อนปลดประจำการ และกลับมาอยู่ในการดูแลของกองพันสุนัขทหารจนสิ้นอายุขัย หากสุนัขมีสภาพร่างกายไม่พร้อมก่อนกำหนด ก็จะได้รับการปลดประจำการเช่นกัน พร้อมการดูแลอย่างอบอุ่นเหมือนเป็นสมาชิกในครอบครัว
ในแต่ละปี กองพันสุนัขทหารจะมีการพิจารณานำสุนัขที่ไม่ผ่านเกณฑ์ หรือผ่านเกณฑ์แต่เกินโควตา เช่น อ้วน เชื่องช้า เฉยชา หรือมีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับคนได้ง่าย และขี้เล่น ซึ่งเหมาะจะเป็นสัตว์เลี้ยงหรือเพื่อนร่วมชีวิต มาจัดกิจกรรม “ประมูลหาบ้าน” เพื่อให้พวกเขาได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายและจิตใจ
ข่าว
30 เม.ย. 2568 16:23 74 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 16:20 76 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 16:16 71 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 16:12 77 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 14:24 201 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 14:09 84 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 13:44 126 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 13:17 176 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 12:55 98 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 12:32 98 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 11:34 156 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 11:28 139 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 11:27 103 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 11:24 192 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 11:13 114 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 11:06 87 views