วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม 2568
15 พ.ค. 2568 14:27 | 86 view
@pracha
'ธีระชัย' จี้รัฐหยุดตีความกฎหมาย สร้างความชอบธรรมออก 'จีโทเคน' ไร้ช่องทางเอื้อรัฐเป็นผู้ออกสินทรัพย์ดิจิทัล
15 พ.ค. 2568 - ที่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รองหัวหน้าพรรคฝ่ายเศรษฐกิจ พปชร. อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงข่าวถึงกรณีที่กระทรวงการคลังจะกู้หนี้สาธารณะโดยออกโทเคนดิจิทัล G-Token ว่า จะไม่ตรงกับเจตนารมย์ของกฎหมาย เพราะในปี พ.ศ. 2548 ที่มีการตราพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 นั้น เป็นเวลายี่สิบปีมาแล้ว ในขณะนั้นกฎหมายไทยยังไม่มีพื้นฐานใดเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล
สำหรับกรณีที่กระทรวงการคลังเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติการออก G-Token โดยอ้างว่าเป็น “วิธีการอื่น” ตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ซึ่งระบุว่า “การกู้เงินตามพระราชบัญญัตินี้จะทำเป็นสัญญาหรือออกตราสารหนี้หรือวิธีการอื่นใดก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ“ นายธีระชัยเห็นว่าเจตนารมย์ของกฎหมายดังที่บรรยายไว้ก่อนหน้าว่าจะทำเป็นสัญญาหรือจะออกตราสารหนี้ก็ได้นั้น คือต้องการให้มีหลักฐานแห่งหนี้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อคุ้มครองประชาชนผู้เป็นเจ้าหนี้ของรัฐ ดังนั้น “วิธีการอื่น” ที่กระทรวงการคลังจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมาตรา 10 วรรคหนึ่งได้ ก็จะต้องเป็นวิธีการที่มีหลักฐานแห่งหนี้เป็นลายลักษณ์อักษรในทำนองเดียวกับสัญญาหรือตราสารหนี้
ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 ที่มีการตราพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ที่อนุญาตให้มีการออกโทเคนดิจิทัลได้นั้น ก็เป็นที่ชัดเจนว่า เจตนารมย์ของกฎหมายนั้นเพื่ออนุญาตให้ภาคเอกชนเป็นผู้ออก ดังระบุในมาตรา 17 ว่า “ในการเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ออกใหม่ต่อประชาชน ผู้ออกโทเคนดิจิทัลที่ประสงค์จะเสนอขายโทเคนดิจิทัลดังกล่าวต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. และให้กระทำได้เฉพาะนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด …” ในขณะนั้น จึงชัดเจนว่ามิได้มีความคิดที่จะใช้หลักการโทเคนดิจิทัลสำหรับการกู้เงินตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548
ส่วนกรณีที่กระทรวงการคลังเสนอ ครม. ให้อนุมัติวิธีการกู้เงินโดยการอกโทเคนดิจิทัลของรัฐบาล (Govemment Token: G-Token) อันเป็นการอ้างว่าสามารถนำเอาวิธีการสินทรัพย์ดิจิทัลที่เกิดขึ้นภายหลังในปี พ.ศ. 2561 มาใช้กับพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ ที่เกิดขึ้นก่อนหน้าในปี พ.ศ. 2548 นั้น นายธีระชัยเห็นว่า เป็นการอ้างอิงที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากหลักการและเหตุผลในพระราชกำหนดสินทรัพย์ดิจิทัล ระบุชัดเจนว่าเพื่อจัดระเบียบการทำธุรกิจในสินทรัพย์ดิจิทัลระหว่างเอกชนเป็นสำคัญ ส่วนการจะพิจารณานำไปใช้ในการบริหารหนี้สาธารณะหรือไม่ หรือสมควรใช้โดยมีเงื่อนไขอย่างไร จำเป็นจะต้องแก้ไขพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ให้อำนาจแก่กระทรวงการคลังชัดเจนและกำหนดกฎกติกาให้รัดกุมเสียก่อน
นอกจากนี้ ในรายงานการประชุม ครม. ที่ระบุว่า ”สำนักงาน ก.ล.ต. เห็นว่า หาก กค. พิจารณาได้ว่าการกู้เงินโดยวิธีการออก G-Token ไม่ใช่การออกตราสารหนี้ ซึ่งไม่เป็น "หลักทรัพย์" ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพรัพย์ พ.ศ. 2535 แล้ว ก็สามารถดำเนินการภายใต้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 …“ นั้น ก็เป็นการผูกมัดชัดเจนว่ากระทรวงการคลังเห็นว่าโทเคนดิจิทัลไม่ถือเป็นตราสารหนี้ จึงไม่เข้าข่ายตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง เป็นการย้ำว่าสมควรจะมีการแก้ไขกฎหมายให้เรียบร้อยเสียก่อน
ข่าว
15 พ.ค. 2568 16:37 74 views
ข่าว
15 พ.ค. 2568 16:23 72 views
ข่าว
15 พ.ค. 2568 15:41 74 views
ข่าว
15 พ.ค. 2568 15:31 140 views
ข่าว
15 พ.ค. 2568 14:29 92 views
ข่าว
15 พ.ค. 2568 14:27 87 views
ข่าว
15 พ.ค. 2568 13:08 122 views
ข่าว
15 พ.ค. 2568 12:57 98 views
ข่าว
15 พ.ค. 2568 12:27 125 views
ข่าว
15 พ.ค. 2568 11:35 135 views
ข่าว
15 พ.ค. 2568 10:46 126 views
ข่าว
15 พ.ค. 2568 10:39 149 views
ข่าว
15 พ.ค. 2568 10:37 125 views
ข่าว
15 พ.ค. 2568 10:28 128 views
ข่าว
15 พ.ค. 2568 10:16 98 views
ข่าว
15 พ.ค. 2568 10:07 145 views