วันพุธที่ 30 เมษายน 2568
6 ก.พ. 2566 20:23 | 978 view
@admin
ช่วงเวลาที่ไม่สามารถควบคุมสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวได้ ไม่มีอะไรได้ดั่งใจเลยสักอย่าง การใช้เงินเพื่อช้อปปิ้งอาจเป็นคำตอบของชีวิต หากเราใช้เงินไปกับการช้อปในช่วงเวลาที่รู้สึกวิตกกังวล โปรดรู้ไว้ว่าเรานั้นไม่ได้อยู่ลำพัง จากการสำรวจของ Huffpost พบว่า 1 ใน 3 ของชาวอเมริกันที่เครียดเมื่อไม่นานมานี้เลือกที่จะซื้อของเพื่อจัดการกับความเครียด ถ้าเราเป็นหนึ่งในผู้รักการช้อปปิ้งแล้วไม่อยาก ให้การช้อปปิ้งบำบัดกลายเป็นความเครียดล่ะก็วันนี้มาทำความรู้จักกับ“Retail Therapy” หรือ “การบำบัดด้วยการช้อปปิ้ง” ให้มากขึ้นกันเถอะ Retail Therapy ช้อปปิ้งบำบัดคืออะไร? คำว่า “Retail Therapy” หรือ “การบำบัดด้วยการช้อปปิ้ง” มีต้นกำเนิดในช่วงทศวรรษที่ 1980 มีความหมายว่า เป็นวิธีการลดความกังวลใจ หรือพยายามทำให้ตนเองมีกำลังใจ ผ่านการซื้อของมาเพื่อความสุขตัวเองเพียงชั่วครู่ ด้วยการออกไปจับจ่ายใช้สอยไม่ว่าจะออกไปห้างสรรพสินค้า หรือกดสั่งซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์ สิ่งสำคัญต่อมาคือการช้อปปิ้งมอบความรู้สึกของการ ‘มีอำนาจ’ ในการครอบครอง ลองจินตนาการถึงห้วงเวลาที่เราได้เป็นเจ้าของกลิ่นน้ำหอม และครีมทาผิวแบรนด์โปรดที่หมายตามานาน ได้จับเนื้อสัมผัสของเสื้อผ้าใหม่เมื่อนำมันออกมาจากกล่อง หรือความสุขเล็กๆ เมื่อกล่องพัสดุที่สั่งไว้มาถึงแล้ว สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้เราลืมความเครียดที่ติดมากับเราไปชั่วขณะหนึ่ง และในบางกรณีการช้อปปิ้งบำบัดนั้นมีประสิทธิภาพเยียวยามากกว่าการออกกำลังกาย เดินรับแสงแดด รวมทั้งลดอาการเศร้าซึมได้อย่างดีเลยทีเดียว วิธีบำบัดความเครียดแบบ Retail Therapy ได้ผลจริงหรือ? การบำบัดความเครียดด้วยการช้อปปิ้งนั้นทำให้เราหายเครียดได้จริง เพราะการช้อปปิ้งนั้นทำให้เราได้เบี่ยงเบนความสนใจไปจากชีวิตประจำวัน เหมือนเป็นการนำ "อำนาจการควบคุม" ที่อาจจะหายไประหว่างวันร้ายๆ ให้ตนเองได้กลับมาครอบครองอีกครั้ง การช้อปปิ้งยังเสริมสร้างความมั่นใจเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสิ่งใหม่ๆ และความกังวลในจิตใจเรื่องความสัมพันธ์อีกด้วยเพราะการได้ซื้อของต่างๆ เป็นการเบี่ยงเบนความสนใจจากเรื่องชีวิตประจำวันมาเป็นสิ่งที่อยู่ตรงหน้า นอกจากนี้การศึกษาของมหาวิทยาลัย Pennsylvania State Study ยังระบุเพิ่มเติมว่า การช้อปปิ้งบำบัดนั้นทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ที่ต้องใช้ชีวิตด้วยงบประมาณจำกัด มีความสุขและอารมณ์ดีขึ้นได้ จึงอาจเรียกได้ว่าการช้อปปิ้งนั้น เป็นวิธีการรับมือแบบชั่วครั้งชั่วคราวมากกว่าการแก้ไขปัญหาจากต้นเหตุ ช้อปแก้เครียดมากไปต้องระวังเครียดหนักกว่าเดิม! อย่างไรก็ตามความสุขจากการช้อปปิ้งนั้นเป็นความสุขระยะสั้น ถ้าความเครียด ความวิตกกังวลที่แท้จริงยังไม่ได้ถูกจัดการ แน่นอนว่าในไม่ช้าความรู้สึกแย่ก็จะกลับมาหาเราอีกครั้ง การหมกมุ่นเรื่องการช้อปปิ้งมากเกินไปก็อาจจะส่งผลต่อสภาพจิตใจ และสถานะทางการเงินระยะยาวของเราได้อีกด้วย ดังนั้นหากเราพบว่าตนเองกำลังอยู่ในภาวะไม่มีความสุข หรือเผชิญความรู้สึกด้านลบ ให้ลองคุยกับใครสักคน ไม่ว่าจะเพื่อนสนิท สมาชิกในครอบครัว หรือปรึกษากับมืออาชีพอย่างจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา ก็จะเป็นการแก้ไขที่ตรงจุดมากกว่าการช้อปปิ้งที่อาจจะบำบัดความเครียดได้ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น เพื่อลดนิสัยซื้อของแก้เครียดและหลีกเลี่ยงการเป็นหนี้จากการซื้อของตามความต้องการชั่วครู่นั้น ให้พยายามหลีกเลี่ยงการจับจ่ายเมื่อเรารู้ว่ากำลังอารมณ์ไม่ดี หรือวิตกกังวล หากเราจำเป็นต้องซื้อของนั้นจริงๆ ก็ให้เลือกเอาเฉพาะสิ่งของที่จำเป็นเท่านั้น โดยอาจจะทิ้งบัตรเครดิตไว้ที่บ้านและพกเงินสดแทน หรือจำกัดยอดเงินการใช้บัตรเครดิตสำหรับแต่ละเว็บไซต์ รวมทั้งยกเลิกการสมัครรับจดหมายข่าวทางอีเมลจากร้านค้าที่ชื่นชอบเพื่อควบคุมพฤติกรรมการซื้อ Retail Therapy หรือการช้อปปิ้งบำบัดนั้นไม่ได้แย่เสมอไป เพราะเป็นกิจกรรมที่ทำให้เราลืมความทุกข์ และรู้สึกถึงอำนาจในการควบคุม ถ้าหากเราช้อปปิ้งแก้เครียดแบบนานๆ ครั้ง และใช้เงินแบบพอเหมาะพอควรตามงบประมาณที่กำหนดไว้ไม่ได้เกินเลยจนเป็นปัญหาการเงินจนมีหนี้สินล้นตัวตามมา จนกลายเป็นความเครียด และความเศร้าแทนความสุข ดังนั้นอย่าลืมเช็คตัวเองทุกครั้งเพื่อเตือนสติว่า "ซื้อทำไมนะ!" ทุกครั้งก่อนจ่ายเงินด้วย
ข่าว
30 เม.ย. 2568 16:23 46 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 16:20 43 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 16:16 44 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 16:12 49 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 14:24 166 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 14:09 60 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 13:44 91 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 13:17 129 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 12:55 76 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 12:32 78 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 11:34 137 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 11:28 116 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 11:27 79 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 11:24 167 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 11:13 93 views
ข่าว
30 เม.ย. 2568 11:06 71 views